ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

ดูหนัง “อาเมียร์ ข่าน” เปิดโลกกว้างให้เด็กช่างคิด!! ใน “Tarre Zameen Par” 2007 เต็มเรื่อง

ดูหนัง “อาเมียร์ ข่าน” เปิดโลกกว้างให้เด็กช่างคิด!! ใน “Tarre Zameen Par” 2007 เต็มเรื่อง - เว็บดูหนังดีดี ดูหนังออนไลน์ 2020 หนังใหม่ชนโรง
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังดราม่า

เรื่องย่อ : ดูหนัง “อาเมียร์ ข่าน” เปิดโลกกว้างให้เด็กช่างคิด!! ใน “Tarre Zameen Par” 2007 เต็มเรื่อง

ดูหนัง “อาเมียร์ ข่าน” เปิดโลกกว้างให้เด็กช่างคิด!! ใน “Tarre Zameen Par” 2007 เต็มเรื่อง

 

เด็กทุกคนมีความพิเศษในตัว Taare Zameen Par (Like Stars on Earth) กำกับและนำแสดงโดย Aamir Khan หน้าหนังอาจดูไม่น่าสนใจนัก แต่นี่เป็นหนังที่สวยงามมากที่สุดเรื่องหนึ่งของ Bollywood, เด็กที่มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร หรือ Dyslexia สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าเพียงมีคนเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขา, แนะนำหนังเรื่องนี้ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

Aamir Khan เป็นหนึ่งในนักแสดงสุดยอดฝีมือของ bollywood ที่เชื่อว่าใครๆคงรู้จัก (ถ้าคุณยังไม่รู้จักก็จดจำชื่อเขาไว้นะครับ) กระนั้นไม่คิดมาก่อนจะสามารถกำกับหนังได้ดีด้วย (มีไม่เยอะที่นักแสดงเก่งๆ จะกลายเป็นผู้กำกับระดับยอดเยี่ยมได้) นี่ถือเป็นเรื่อง debut ของเขา, Taare Zameen Par จัดว่าเป็นหนังน้ำดี ภาพสวย เนื้อเรื่องเยี่ยม และ Aamir ยังร่วมแสดงสมทบ (ที่ถือว่าเป็นตัวเอกของหนัง) เมื่อปรากฏตัวออกมา ก็สามารถแบกหนังทั้งเรื่องไว้ได้สบายๆ, ผมมองหานักแสดงฝั่ง hollywood ที่สามารถเปรียบเทียบกับ Aamir คิดว่าที่ใกล้ที่สุดในปัจจุบันคือ Ben Affleck ด้วยหน้าตา แนวคิด รวมถึงสามารถที่เป็นได้ทั้งนักแสดง ผู้กำกับ เขียนบท แต่จะว่า Aamir Khan คือ Ben Affleck แห่ง bollywood หรือ Ben Affleck คือ Aamir Khan แห่ง hollywood กันละนี่! 

IMDB : tt0986264

คะแนน : 8.4

รับชม : 538 ครั้ง

เล่น : 100 ครั้ง



“อาเมียร์ ข่าน” เปิดโลกกว้างให้เด็กช่างคิด!! ใน “Tarre Zameen Par” 2007

Taare Zameen Par(2007) สร้างโดยอาเมียร์ ข่าน(Aamir Khan)สตูดิโอ กำกับและรับบทนำเอง ร่วมกับน้อง Darsheel Safary (รับบทอิชาน สวัสตี - Ishaan Awasthi) ภาพยนตร์มีชื่อภาษาอังกฤษน่ารักๆว่า "Like Stars on Earth" แปลจากภาษาฮินดีว่า 'ดวงดาวบนโลก' เพื่อเปรียบว่าเด็ก ๆ เป็นเหมือนดวงดาวบนโลกและเด็กทุกคนมีความพิเศษในแบบของตัวเอง 


ภาพยนตร์เปรียบเสมือนกระจกของสังคมที่เราอาศัยอยู่ ในขณะที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ภาษาฮินดีกำลังติดตามประเด็นทางสังคมของอินเดียอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่รับรู้ว่ามีบุคคลที่พิการทางร่างกายและจิตใจอยู่อีกมาก ดังนั้นภาพยนตร์บอลลีวูดหลายเรื่องจึงพยายามผลิตผลงานที่ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับเรื่องความพิการด้วยความอ่อนไหวและความเห็นอกเห็นใจเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนการรับรู้ของผู้คนและสังคมโดยรวมไปสู่ความเข้าใจที่แตกต่างอีกด้วย อาทิ ภาพยนตร์เรื่อง Zero ที่นำแสดงโดย Shah Rukh Khan หนึ่งในสามข่านผู้ยิ่งใหญ่ของวงการบอลลีวูด ในการรับบทคนแคระ / Hrithik Roshan และ Yami Gautam starrer ในภาพยนตร์เรื่อง Kaabil กับบทคนตาบอด หรือ 'ความบกพร่องทางสายตา'

ภสพโปสเตอร์


     จริงๆทุกคนน่าจะรู้จักอาเมียร์ ข่านแหละ ทั้งจากหนังอินเดียชื่อดังที่รู้จักในบ้านเราอย่าง PK , Dangal , 3idiot , Laagan (ซึ่งเราก็แนะนำให้ไปดูทุกเรื่องที่อาเมียร์ ข่านแสดงนั่นแหละ แล้วจะหลงรักผู้ชายคนนี้กับทุกบทบาทที่เขาแสดง) อาเมียร์ ข่านสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กับเด็กที่เป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้อย่าง Dyslexia - ปัญหาของโรคนี้คือลำบากในการสะกดคำ การอ่านซึ่งต้องใช้เวลาในการอ่านทีละนิด ไม่สามารถอ่านอย่างรวดเร็ว การเขียนคำ การออกเสียง เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังส่งผลให้บุคคลที่มีความบกพร่องด้านนี้เป็นโรคสมาธิสั้นสมาธิสั้น (ADHD) เกิดความผิดปกติของภาษา การพัฒนาและจดจำตัวเลขได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้อย่างดิสเล็กเซีย โดยทั่วไปจะใช้เวลาครึ่งปีในการอ่านจำนวน ตัวเลข หรือคำเดียวกันกับที่เด็กคนอื่นอ่าน เด็กปกติอ่านหนึ่งวัน แต่เด็กที่เป็นดิสเล็กเซียอาจจะต้องอ่านถึงครึ่งปี 

      ดิสเล็กเซียอาจจะเป็นโรคที่รู้จักกันดีในตะวันโลก ท่วาในอินเดียที่มีประชากรหลายล้านคน และคนจำนวนมากยังอยู่เส้นต่ำกว่าความยากจน ขาดทั้งทรัพย์สินและความรู้ อาเมียร์จึงสร้างมันเพื่อส่งสารแก่ผู้ชมว่าเด็กเหล่านี้ต้องดำเนินชีวิตอย่างไร ต้องผ่านความยากลำบากอย่างไร แล้วเราสามารถช่วยเหลือพวกเขาอย่างไรได้บ้าง ดิสเล็กเซียไม่ใช่ความพิกรพิการ เราสามารถดูแลเด็กๆเหล่านี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับให้พวกเขาอ่านเขียนหนังสือ หรือบีบบังคับเพื่อให้เขาปิดบังความบกพร่องของตนเอง ซึ่ง Matthew H. Schneps ก็ได้เขียนบทความลงเว็บไซต์ที่ชื่อว่า Scientific American  ในหัวข้อ "The Advantages of Dyslexia" เพื่อย้ำว่าดิสเล็กเซียไม่ใช่โรคร้าย ทว่าเราสามารถพัฒนาเด็กเหล่านี้ให้กลายเป็นอัจฉริยะ ซึ่งนักแสดงฮอลลีวูด และผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังก็มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้หลายคนก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การบกพร่องทางการเรียนรู้ไม่ใช่อุปสรรคในการกีดขวางความสำเร็จ เช่น 

  • Steven Spielberg ผู้กำกับฉายาพ่อแม่แห่งฮอลลีวูด สปีลเบิร์กเล่าว่าเขาไม่ทราบว่าตัวเองมีภาวะดังกล่าวจนกระทั่งอายุได้ 60 ปี
  • Muhammad Ali เป็นแชมป์มวยรุ่นเฮฟวี่เวทในตำนาน การต่อยของอาลีได้รับการขนานนามว่า “ลอยได้เหมือนผีเสื้อ” และ “ต่อยราวกับผึ้ง” อาลีเองอ่านหนังสือแทบไม่ออกเพราะดิสเล็กเซีย
  • Richard Branson อภิมหาเศรษฐีของอังกฤษผู้ก่อตั้ง  Virgin Group และมีบริษัทในเครืออีก 400 แห่ง ทั้งสายการบิน ค่ายเพลง
  • Jay Leno พิธีกรตลกและอดีตพิธีกรรายการ The Tonight Show
  • Keira Knightley นักแสดงชาวอังกฤษ นางเอกภาพยนตร์คลาสสิคอย่าง Pride & Prejudice / ภาพยนตร์ Begin Again
  • John F. Kennedy ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนที่ 35 นอกจากภาวะดิสเล็กเซียแล้ว JFK ยังมีอาการปวดหลังเรื้อรังอีกด้วย ทว่าก็ยังสามารถเข้าเรียนที่ฮาร์วาร์ด เป็นทหารในกองทัพเรือช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง(WWII) ต่อมาเป็นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกาในปี 1961

เพราะเด็กทุกคนพิเศษ
      สเน่ห์ของหนังไม่เพียงฉายภาพเด็กชายวัย 8 ขวบที่ต้องเผชิญกับความบกพร่องทางการเรียนรู้ การต่อสู้ในโรงเรียนและบริบทแวดล้อมรอบข้าง แต่ยังเสนอภาพของ "การแข่งขัน" ทางสังคมซึ่งมีอิทธิพลทั้งในอินเดียและแถบเอเชีย ราวกับเป็นลักษณะเฉพาะของคนเอเชียไปแล้วที่ผู้ปกครองกดดันให้ลูกเก่งในทุกด้านของชีวิต โดยเฉพาะการเรียน เด็กต้องตั้งใจเรียนให้เก่ง เป็นที่หนึ่งในทุกการแข่งขันเพื่อแสวงหาโอกาสที่มากกว่า เด็กหลายคนถูกปล้นความสุขในวัยเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองที่เชื่อว่าการเป็นที่หนึงคือทุกสิ่ง (แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกใบนี้มันช่างโหดร้ายนัก ที่คนเรียนเก่งมีโอกาสมากกว่าจริงๆ) ไม่ต้องพูดถึงการเห็นอกเห็นใจ แค่ความอดทนเล็กๆต่อคนเรียนช้าก็หาได้ยาก โดยภายหลังที่ภาพยนตร์ออกฉาย ทำให้เกิดการรับรู้ถึงปัญหาของดิสเล็กเซีย และกระตุ้นให้เกิดการสนทนากันอย่างเปิดเผยมากขึ้นในหมู่ผู้ปกครอง นักกิจกรรม

ทั้งนี้ผู้ก่อตั้ง Action Dyslexia Delhi เพื่อเด็กดิสเล็กเซียเล่าว่ามีผู้ปกครองโทรศัพท์และส่งจดหมายเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าในช่วงหลายเดือนหลังจากที่ภาพยนตร์ออกฉาย เนื้อความในจดหมายและการรับโทรศัพท์ส่วนมากล้วนเป็นความเสียใจของผู้ปกครองที่พวกเขาเข้าใจผิด ละเลยและทำผิดต่อลูกของเขาซึ่งมีภาวะดิสเล็กเซีย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายของ  Central Board of Secondary Education (CBSE) หรือคณะกรรมการกลางการศึกษามัธยมศึกษา ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับชาติของการศึกษาในอินเดีย สำหรับโรงเรียนของรัฐและเอกชน มีมติให้เพิ่มเวลาให้กับเด็กพิเศษในการสอบ และจัดหลักสูตรสำหรับเด็กเหล่านี้อีกด้วย 


     ภาพยนตร์เรื่องนี้ยาว 165 นาที ถือว่ายาวมากเพราะชั่วโมงแรก เล่าถึงเด็กชายตัวน้อยที่ต้องต่อสู้คนเดียว โดยที่ผู้ปกครองเองก็ไม่เข้าใจถึงความบกพร่อง ครูตัดสินว่าเด็กชายคิดผิดเพียงเพราะไม่ตอบคำถามตามหนังสือ .. พอถึงตรงนี้เราเห็นการเรียนแบบท่องจำ ระบบการศึกษาที่น่าอดสู ถ้าตอบไม่ตรงตามตำราเรียนเท่ากับผิดสถานเดียว ไม่ให้คิดนอกกรอบหรือแสดงความคิดเห็นไปมากกว่านี้