ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

Pop Aye ป๊อปอาย มายเฟรนด์ (2017)

Pop Aye ป๊อปอาย มายเฟรนด์ (2017)
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังดราม่า

เรื่องย่อ : Pop Aye ป๊อปอาย มายเฟรนด์ (2017)

ชื่อภาพยนตร์ : Pop Aye ป๊อปอาย มายเฟรนด์
แนว/ประเภท : Drama
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Kirsten Tan
บทภาพยนตร์ : Kirsten Tan
นักแสดง : Penpak Sirikul,  Thaneth Warakulnukroh,  Kantisuda Meebunmak
วันที่ออกฉาย : 13 April 2017
 
 
 

ธนา สถาปนิกใหญ่วัยกลางคน ผู้เคยมีชื่อเสียงโด่งดังจากหน้าที่การงาน พบว่าตัวเขาเองล้าสมัยและไม่เป็นที่ต้องการของบริษัท ที่เขาช่วยสร้างมากับมือ โชคชะตานำเขาให้ได้พบกับ'ป๊อปอาย' เพื่อนสนิทในวัยเยาว์ที่พลัดพลากจากกันไปหลายสิบปีบนถนนของมหานครกรุงเทพ ความตื่นเต้นดีใจ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นกับธนามาหลายสิบปี ทำให้ธนาตัดสินใจพาช้างเพื่อนรักออกเดินทางกลับไปสู่บ้านเกิดของพวกเขาทั้งคู่ เพียงเพื่อได้ค้นพบความจริงในตัวเขาเอง ...
 
ช้างที่รับบทป๊อบอาย เป็นช้าง พลายป๋อง จาก อ.เขวาสินรินทร์
ขวัญใจพวกเราชาวสุรินทร์ เพราะว่าพลายป๋องมีบุคลิกที่สง่างาม และดูเป็นมิตรมาก น้องจากนี้หนังเรื่องนี้ยังมีนักแสดงเด็กจาก เขวาสินรินทร์ ร่วมแสดงในตัวเอก หรือ ธนา ตอนเด็กด้วย ...
 
Pop Aye': A Man, An Elephant And An Amiable Amble Across Thailand ...

IMDB : tt3740066

คะแนน : 6.7

รับชม : 199 ครั้ง

เล่น : 9 ครั้ง



 

 

ถ้าดูจากตัวอย่างหนังไม่กี่นาที บางคนอาจเข้าใจว่า ป๊อปอาย มายเฟรนด์ คือหนังที่ใช้มิตรภาพระหว่างคนกับช้างเป็นพล็อตดำเนินเรื่องหลัก แต่ความจริงแล้วมิตรภาพนั้นเป็นเพียงหนึ่งใน ‘จิ๊กซอว์’ ที่ทำให้การเดินทางของธนา (ธเนศ วรากุลนุเคราะห์) สถาปนิกวัยใกล้เกษียณได้เริ่มต้นขึ้นเท่านั้น

     ซึ่งถ้าจะว่าไป มันก็เฉกเช่นเดียวกับที่ครอบครัวฮูเวอร์ใช้โฟล์กตู้สีเหลืองเป็นพาหนะเพื่อพาโอลีฟไป ‘ถล่ม’ งานประกวดหนูน้อยพระอาทิตย์ใน Little Miss Sunshine (2006) แต่แง่งามที่เกิดขึ้นคือเรื่องราวระหว่างทางที่ทำให้คนในครอบครัวได้เรียนรู้และปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน  
 

     
ความต่างคือ ป๊อปอาย มายเฟรนด์ ไม่ได้พาธนาไปปรับความเข้าใจกับใครอื่น แต่หนังการเดินทางกลับบ้านระหว่างช้างกับคนได้พาตัวละครอย่าง ‘ธนา’ ย้อนกลับไปสู่ความคิดเบื้องลึกในหัวจิตหัวใจที่เขาได้กลบฝังเอาไว้อย่างยาวนาน เนื่องจากวิถีชีวิตตลอดวัยหนุ่มที่เขาเลือกจะทุ่มทุกอย่างให้กับการทำงานในกรุงเทพฯ
 

     กระทั่งวันหนึ่งที่เขาได้เจอกับ ‘ป๊อปอาย’ ช้างเพื่อนรักที่เขาเคยทอดทิ้งไปในวัยเด็ก และการได้เจอกันอีกครั้งในช่วง midife crisis ของชีวิตนี่เอง ป๊อปอายก็ได้ส่งต่อ ‘รอยยิ้ม’ ที่แท้จริงให้กลับมาสู่เขาอีกครั้ง ซึ่งมันคือรอยยิ้มในแบบที่แม้แต่ภรรยา (เพ็ญพักตร์ ศิริกุล) ก็ยังให้ไม่ได้
 

     
ที่สุดแล้ว ธนาตัดสินใจเดิมพันกับรอยยิ้มนั้นด้วยการทิ้งทุกสิ่งอย่างที่เขาเคยคิดว่า ‘ใช่’ แล้วออกเดินเท้าเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรเพื่อพา ‘ป๊อปอาย’ เพื่อนรักในวัยเด็กและตัวเขาเองกลับ ‘บ้าน’

   
หนังแบ่งการเล่าเรื่องออกเป็นสองพาร์ต คือพาร์ตของชีวิตสถาปนิกรุ่นใหญ่ที่กำลังถูก ‘คลื่นแห่งยุคสมัยใหม่’ ซัดสาดมาแทนที่ และอีกพาร์ตว่าด้วยการเดินทางครั้งใหม่… จุดร่วมหนึ่งเดียวของสองพาร์ตที่เหมือนกันคือ ตลอดทางเดินนั้นเขาจะต้องพานพบกับสถานการณ์ยากลำบากในชีวิตที่ตัวเองจะต้องเข้าไปแก้ไข

     สำหรับพาร์ตแรก… เขายังหาคำตอบไม่ได้ว่าจะทนทำทุกอย่างไปเพื่ออะไร

     ส่วนพาร์ตหลังนั้น… คำตอบค่อยๆ ชัดเจนและแน่นอน

     ว่าไปแล้วการเดินทางของธนาและป๊อปอายนั้นดำเนินไปอย่างเชื่องช้าและราบเรียบ โดยมีเหล่า ‘ตัวละครเล็กๆ’ ตลอดเส้นทางกลับบ้านค่อยๆ เปลี่ยนแปลงความคิดของธนาไปทีละน้อย ผ่านปมความคิดบางอย่างที่แตกต่างกันออกไป

 

ในส่วนนี้ต้องชื่นชมการดีไซน์ตัวละครที่สามารถจัดวางคาแรกเตอร์ของแต่ละคนให้สอดรับกับทุกจังหวะย่างก้าวการเดินทางของ ‘ธนา’ ได้อย่างไม่มีขาดหรือเกิน แถมยังเป็นการแคสต์นักแสดงที่เลือกใช้คนธรรมดา ไม่ใช่นักแสดงมืออาชีพ ซึ่งช่วยขับเน้นความเป็นธรรมชาติของผู้คนในชนบทของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี  อาทิ

     ดี๋ คนไร้บ้านที่ใช้คิดชีวิตแบบไม่คิดอะไร นอกจากเฝ้ารอสักวันหนึ่งที่จะได้ไปอยู่กับพี่ชายอีกครั้ง ซึ่งการไม่คิดอะไรของเขานี่แหละที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ธนาเริ่มหันกลับไปมองชีวิตการทำงานที่ผ่านมาของตัวเองอีกครั้ง

     คู่หูตำรวจ ที่เข้ามาเตือนสติเกี่ยวกับ ‘อิสระ’ ที่เขาถูกยึดไป ทำให้แม้แต่จะกินแตงโมที่ตกอยู่บนพื้นก็ยังไม่มีสิทธิ

     เจนนี่ กะเทยประจำร้านเหล้าที่เคยผ่านจุดรุ่งเรืองในกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับธนา นอกจากนั้นมันยังทำให้เขานึกย้อนไปถึงชีวิตรักของตนกับภรรยาที่กำลังมีปัญหา

     และสุดท้ายคือ ‘อาเปี๊ยก’ ญาติคนเดียวที่เขาเหลืออยู่ ก็เข้ามาเป็นตัวแทนเพื่อบอกให้ธนาได้ตระหนักว่า ถึงแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่ความห่วงใยของคนในครอบครัวจะยังคงอยู่เช่นเดิมเสมอ
 

     
อีกสิ่งที่น่าทึ่งและชวนแปลกใจคือ ถึงแม้ผู้กำกับของเรื่องอย่างคริสเตน ตัน จะเป็นชาวสิงคโปร์ แต่เขากลับเล่าเรื่องการเดินทางในประเทศไทยได้เนียนตามากๆ โดยเฉพาะการเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งฉาก สถานที่ รวมไปถึงวิถีชีวิตของผู้คนในชนบท ที่เผลอๆ อาจจะทำได้ดีกว่าผู้กำกับไทยบางคนเสียอีก

     สุดท้ายที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ซึ่งอยากยกให้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในหนังเรื่องนี้ นั่นคือการแสดงของธเนศ วรากุลนุเคราะห์  

     ก่อนหน้านี้เราได้เห็นบทบาทของเขาบ้างจากการรับบทพ่อของลิน ในหนังเรื่องฉลาดเกมส์โกง ซึ่งตอนนั้นก็ถือว่าทำได้ดีแล้ว แม้ว่าจะมีบางซีนที่รู้สึกว่ายังล้นๆ อยู่บ้างนิดหน่อย แต่กับ ‘ป๊อปอาย มายเฟรนด์’ ทุกอย่างที่ธเนศแสดงออกมามันคือธรรมชาติแบบธรรมชาติจริงๆ เรานึกไม่ออกด้วยซ้ำว่าจะมีนักแสดงคนอื่นอีกไหมที่จะเล่นบทนี้ได้ดีกว่าเขา

      เราชอบคาแรกเตอร์ที่ตรงตามโจทย์ ทั้งการเป็นลูสเซอร์วัยกลางคนที่หัวเริ่มล้าน ลงพุง ห่อเหี่ยว ซึ่งขับเน้นให้เห็นชัดขึ้นไปอีกกว่าเขาถูกยุคสมัยใหม่กดให้เหลือตัวเล็กลงขนาดไหน รวมทั้งการพูดจา การแสดงออกทางสีหน้าที่เรียบนิ่ง ดูเก็บงำความรู้สึกอะไรไว้ตลอดเวลา ฉากไหนที่เศร้า เขาก็ทำให้เราสงสารธนาได้แบบสุดใจ แต่เมื่อไรก็ตามที่มีความสุข โดยเฉพาะที่เขาเล่นกับกับป๊อปอาย เขาก็ทำให้เรายิ้มกว้างและหัวเราะตามไปได้ทุกครั้ง
 

     
นี่อาจจะเป็นโอกาสเดียวในชีวิตที่เราจะได้เห็นนักร้องระดับตำนานอย่างเขา ในลุคใส่บ็อกเซอร์ตัวเดียว โชว์พุงเล่นน้ำ และค่อยๆ ปีนขึ้นหลังช้างแบบทุลักทุเลสุดๆ ก่อนลงไปนอนฟุบอย่างสบายใจราวกับนี่คือพื้นที่ที่สบายใจที่สุดในชีวิต (เป็นลองเทกที่เราเอาใจช่วยมากๆ) พูดจริงๆ ว่าแค่ตีตั๋วเข้าไปดูฉากนี้ก็คุ้มแล้ว

      สรุปภาพรวมทั้งหมด ป๊อปอาย มายเฟรนด์ เลยกลายเป็นหนังไทยอีกหนึ่งเรื่องที่ดูแล้วอบอุ่นหัวใจแบบที่ไม่ต้องอิงสูตรสำเร็จความรักโรแมนติกแบบที่ผ่านมา และยังเป็นหนังที่ทำให้คนดูได้มองย้อนกลับไปดูตัวเองในหลายๆ มุม ทั้งการทำงาน ชีวิตวัยเด็ก ครอบครัว ตั้งแต่อดีตไปจนถึงอนาคต แล้วถามตัวเองอีกครั้งว่า ‘ทุกสิ่งที่เราทำอยู่ตอนนี้ เราทำไปเพื่ออะไร?’ และ ‘เราหลงลืมอะไรไปมากแค่ไหนตลอดชีวิตที่ผ่านมา?’

FYI

  • ป๊อปอาย มายเฟรนด์ ได้รับรางวัล Special Jury Prize จากเทศกาลหนังซันแดนซ์ และรางวัล The Big Screen Award จากเทศกาลหนังรอตเทอร์ดามประจำปี 2017
  • ฉลาดเกมส์โกง และ ป๊อปอาย มายเฟรนด์ คือการรับงานแสดงครั้งแรกในรอบ 30 ปีของธเนศ หลังจากผลงานครั้งสุดท้ายอย่าง เทวดาตกสวรรค์ และ พ่อจอมยวน แม่จอมยุ่ง ในปี 2529