หมวดหมู่ : หนังดราม่า , หนังระทึกขวัญ
เรื่องย่อ : ดูหนัง Fifty Shades Darker ฟิฟตี้ เชดส์ ดาร์กเกอร์ (2017) 20+ เต็มเรื่อง
เรื่องย่อ
หลังจากที่ แอนัสเตเซีย ตัดสินใจ เดินออกมาจากชีวิตของ คริสเตียน เกรย์ ได้ไม่นาน ทั้งคู่ก็กลับมาพบกันในงานแสดงนิทรรศการ สัมพันธ์แห่งความรักที่ยังคงค้างคาก็ประทุขึ้นอีกครั้ง… แต่การกลับมาคบกันของคราวนี้ของทั่งคู่ มาในรูปแบบของเงื่อนไขใหม่ ไร้การลงโทษ และไม่มีการปกปิดความลับใดๆต่อกัน แต่ความลับในอดีตที่มันสุดแสนมืดมน ไม่สามารถปิดบังมันด้วยหน้ากากใดๆในโลกนี้ได้ ในขณะที่อดีตของ คริสเตียน เกรย์ เริ่มวิ่งเข้าหา แอนัสเตเซีย เฮลิคอปเตอร์ของเกรย์ก็เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เขาหายตัวไป แอนัสเตเซีย รู้สึกถึงความเปล่าเปลี่ยวและเธอจะผ่านเรื่องนี้ไปได้อย่างไร คริสเตียน เกรย์ หายไปไหน และเธอจะจัดการกับคนในอดีตของ คริสเตียน เกรย์ อย่างไร…
IMDB : tt4465564
คะแนน : 4.6
รับชม : 13592 ครั้ง
เล่น : 5460 ครั้ง
กลับมาอีกครั้งกับภาคต่อของ Fifty Shades Trilogy หนังรักอิโรติคไตรภาคที่พยายามสถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นตัวแทนหนังอิโรติคแฟรนไชส์แห่งยุค โดยในภาคนี้ Fifty Shades Darker มาพร้อมกับความกดดันที่น้อยลงจากเมื่อสองปีก่อนใน Fifty Shades of Grey ซึ่งก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากมาย (หนักไปทางลบด้วยซ้ำ) แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ยังน่าติดตามสำหรับคนดูที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะสาวน้อยสาวใหญ่ที่เสพหนังแนว Twilight หรือละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ที่ชอบความความวาบหวามตื่นเต้น แถมหนังยังจงใจเลือกลงโรงช่วงวาเลนไทน์พอดี
ใน Fifty Shades Darker (เล่ม 2) นี้เล่าเรื่องราวของพระนาง คริสเตียน กับ แอนา ที่กลับมาฟื้นความสัมพันธ์กัน แต่จะเผยให้เห็นด้านมืดและปมหลายอย่างในอดีตของ คริสเตียน ออกมามากขึ้นถึงความเป็นคนที่รสนิยมเสพติด BDSM หรือเซ็กซ์แบบฮาร์ดคอร์ ขณะที่เป็นช่วงที่แอนาเริ่มต้นชีวิตทำงานในสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งซึ่งที่นี่เธอได้พบกับ แจ็ค ไฮด์ บอสหนุ่มผู้รับเธอเข้าทำงานด้วยจุดประสงค์แฝงในเรือนร่างของเธอ สำหรับภาคนี้ยังได้พระเอกหุ่นล่ำ เจมมี ดอร์แนน มาเข้าคู่กับ ดาโกต้า จอห์นสัน เหมือนเดิม (หลังจากเคยมีข่าวว่าเขาจะถอนตัวไป) ก็ถือว่ายังเป็นผลดีถ้ามองเรื่องความต่อเนื่องจากภาคแรก แม้ว่าคนดูส่วนหนึ่ง (รวมทั้งผู้เขียนเอง) จะมองว่าเขายังไม่ได้เข้าถึงบทบาทของความเป็น คริสเตียน เกรย์ ไม่ว่าจะในภาคแรกหรือภาคนี้ก็ตาม คือบุคลิกตรงตามแคแร็คเตอร์แต่ขาดอินเนอร์ในการแสดง (แต่ถ้าถามสาวน้อยสาวใหญ่แค่เห็นซิกซ์แพ็คก็น่าจะฟินแล้ว ณ จุดนี้)
แน่นอนว่าเมื่อนิยายถูกดัดแปลงมาเป็นหนัง มันมักจะถูกตัดแต่งพันธุกรรมใหม่จนบางส่วนที่เป็นอรรถรสสำคัญของเรื่องนั้นขาดหายไป สำหรับโปรเจ็กต์ Fifty Shades Trilogy นี้ อี. แอล. เจมส์ มนุษย์ป้าผู้แต่งเรื่องนี้ก็ยังดูภาพรวมโปรดักชันเองทั้งหมด ซึ่งส่วนตัวผมมองว่าเป็นเรื่องดี เพราะอย่างน้อย Fifty Shades สองภาคก็ยังคุมโทนเนื้อหาตามนิยายในหนังสือไม่ถูกตีความใหม่ หรือดัดแปลงจนแทบรื้อโครงบทประพันธ์กันใหม่เหมือนละครบ้านเรา
เส้นเรื่องหลักของหนังเรื่องนี้มันไม่มีอะไรให้เราไปแตะมากมายอยู่แล้ว เพราะมันค่อนข้างมีกลิ่นอายของความเพ้อฝัน จินตนาการ แฟนตาซี ตอบสนองสัญชาตญาณมนุษย์ทุกคนที่ปิดซ่อนมันไว้ ซึ่ง Fifty Shades Darker นี้ยังคงใช้ความอิโรติคของพระนางที่ดูดดื่มหวานแว๋วดุจน้ำตาลเมืองเพชรมาเป็นจุดขาย ฉากเซ็กส์ที่ครองสัมปทานพื้นที่ส่วนหลักของหนัง (เอะอะก็ซั่มกันทั้งเรื่อง) ไม่ว่าจะโซ่แซ่กุญแจมือหรืออุปกรณ์เสริมและสถานที่พลอดรักแปลกใหม่ (เช่น ในลิฟต์) ซึ่งเป็นการเน้นย้ำรสนิยมเซ็กส์วิตถารด้านมืดของ คริสเตียน มากขึ้น (ขอแสดงความเสียใจล่วงหน้าสำหรับคนที่กำลังจะไปดูครั้งแรกพร้อมแบกความคาดหวังสูงลิ่วที่จะได้เห็นไส้ติ่งไส้อั่ว-ฮา)
สำหรับบทใน Fifty Shade Darker นั้นมันปูทางไว้สำหรับภาคต่อ Fifty Shades Freed หลายจุด ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งกับ แจ็ค ไฮด์, ปมกับมิสซิสโรบินสัน รวมทั้งตัวละครอย่าง เลย์ลา ทาสเก่าของคริสเตียนที่ในภาคนี้จะกลับมาปั่นป่วนชีวิตของพระนางและเป็นตัวละครที่แม้ปรากฏมาไม่เยอะ แต่ทำให้ตัวหนัง ‘เลี่ยน’ น้อยลง และมีมิติมากขึ้น เรียกว่าทำให้รู้สึกหวาดระแวงเล็กๆ ทำให้สะดุ้งตุ้งแช่แรงๆ ได้พอเป็นกระษัย (แอบเสียดายที่หนังให้น้ำหนักกับ คิม เบซิงเงอร์ ในบทมิสซิสโรบินสันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น)
และเหมือนเดิมที่ performance ของ ดาโกต้า จอห์นสัน ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของหนังเรื่องนี้อย่างไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆ ให้ลึกซึ้ง เรียกว่าเป็นหนังสร้างเนื้อสร้างตัวของหล่อนในโลกเซลลูลอยด์ก็ได้ เธอมีความเป็น แอนา อยู่เต็มตัว เสน่ห์แบบธรรมชาติที่มีทั้งภาพของผู้หญิงหัวอ่อนและแข็งกร้าวอยู่ในตัว เป็นตัวละครที่ยิ่งแสดงก็ยิ่งดูเซ็กซี่ นัยน์ตาสีฟ้าชวนหลงไหล ริมฝีปากอวบอิ่มได้รูป สวมอยู่บนบทบาทของหญิงสาวที่มีปมแย้งอยู่ในใจได้ลงตัว เหมือนสัมผัสได้ถึงส่วนผสมบางๆ ของ แอนน์ แฮทธาเวย์ ใน One Day และ ชารอน สโตน ใน Basic Instinct บางคนดูแล้วก็อยากให้ แอนา ครางชื่อตัวเองบ้าง (ฮา)
นอกจากนี้ที่ส่วนตัวคิดว่าหนังทำได้ดีคือ คอสตูมของตัวละครและการเลือกโลเคชันนั้นทำได้ดูดี สอดรับกับโทนหนังและแคแร็คเตอร์ องค์ประกอบด้านภาพและการจัดแสงในเรื่องนี้ก็เป็นอีกจุดที่ทำได้น่าสนใจ ดูหลุดออกมาจากนิยาย รวมทั้งการเลือกใช้เพลงประกอบหนังสอดแทรกเข้ามาในจังหวะทำนองรักได้โรแมนติกดี
อย่างไรก็ตาม หนังก็มีช่องโหว่ที่ทำให้คนเลือกตัดสินว่าจะโอเคหรือไม่โอเคกับหนังไปเลยเหมือนกัน อย่างเช่น อาจมีบางช่วงที่ตั้งคำถามในตัวหนังว่าผู้กำกับใส่ซีนนี้มาทำไม หรือใส่มาแล้วทำให้เกิดอาการเลี่ยนแทนที่หนังควรเปลี่ยนจังหวะไปเดินประเด็นอื่นไปแล้ว จุดหักเหในเรื่องที่น่าจะทำให้คนดูรู้สึกกดดันและลุ้นได้มากกว่านี้อีก หรือความคาดหวังในเรื่องเซ็กซ์ ความอิโรติคที่อาจ ‘ซาดิสม์’ ได้ไม่สุด เรียกว่าออกจะ ‘เรียบร้อย’ ไปด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับหนังอิโรติครุ่นพี่อย่าง Secretary หรือ Basic Instinct เคยทำไว้ (ยังไม่ต้องพูดถึงจากหนังสือที่ถูกตัดทอนความจัดในเรื่องเซ็กซ์ไป) แต่หากดูแบบไม่จับจดมากนัก Fifty Shades Darker ก็ถ่ายทอดออกมาได้ดี ดูเพลิน และมองกลับกัน แม้แต่คนที่ยังไม่เคยดูในภาคแรกหรืออ่านหนังสือมาก่อน มาดูภาคนี้ก็ยังดูเข้าใจ และมีจุดดึงดูดที่อาจทำให้ได้ฐานแฟนใหม่ๆ ลองกลับไปตามภาคแรกหรือซื้อหนังสือมาอ่านจริงๆ ก่อนที่ Fifty Shades Freed ภาคปิดจะเข้าฉายในวันวาเลนไทน์ปีหน้า ซึ่งในภาค Fifty Shades Darker นี้ก็แผ้วทางไว้ให้หนังเรื่องนี้ยังน่าสนใจจนสุดทางแล้ว