หลายคนที่ได้ชม Killing Them Softly อาจจะเกิดอาการงงเป็นไก่ตาแตกว่าหนังมันต้องการอะไร เอาเป็นว่าเนื้อแท้ของ Killing Them Softly นั้นคือการจิกกัดอเมริกานั่นเอง
หากลองย้อนกลับไปเมื่อปีพศ. 2550 หรือ 2551 จะคุ้นหูกับคำนี้ “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” หรือที่เรียกอีกชื่อว่า วิกฤติซับไพรม์ (Subprime Mortgage Crisis) เป็นภาวะของตลาดสินเชื่อที่กำลังตกต่ำในด้านของคุณภาพของอเมริกา ในประเทศไทยเรียกภาวะนั้นว่า วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ผลกระทบหลักๆ คือเรื่องของความคล่องตัวด้านการเงิน และสินเชื่อทั่วโลกตกต่ำ และลดลง จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ เงินทุนไหลเข้ามามาก ปล่อยสินเชื่อ เงินกู้สบาย ง่ายๆ คนที่ได้เงินสินเชื่อเหล่านั้นไปก็นำไปกู้ซื้อบ้าน มากมายทำให้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์พุ่งตัวชนิดเด้งขึ้นสูง เมื่อตลาดอสังหาริมทรัพย์มีความต้องการสูง เพราะคนมีเงินมากขึ้น ราคาของบ้านก็ตกลง ซ้ำประกอบกับสินเชื่อดังกล่าวกู้ง่ายมาก ก็เลยทำให้คนที่ได้เงินกู้ไปจัดสรรค์เงินกู้ไม่ได้ เพราะเงินได้มาง่ายก็ทำให้ ผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยก็โตขึ้น เกิเหตุการณ์ที่หลายคนโดนยึดทรัพย์จำนวนมาก (มองสะท้อนไปที่ นโยบายรถคันแรกที่บิดเบือนข่าว การคืนรถหรือไม่รับรถเพราะแท้จริงคือผิดชำระหนี้ของไทยเราก็ดีนะครับ) เมื่อตลาดอสังหามีการขายทอดตลาดสูง ก็ออกมาขายในราคาที่ถูก พอนำกลับมาขายใหม่เจ้าของเดิมก็ไม่มีสิทธิซื้อเพราะ ราคาในตอนขายใหม่จากทอดตลาดนั้นฟันกำไรหลายเท่า
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ขอยกตัวอย่างแค่นี้
กลับมาที่ Killing Them Softly นั้นคือการสะท้อน อเมริกา ผ่านการจิกกัดแบบฉบับของ Andrew Dominik ผ่านนักแสดงนำอย่าง Brad Pitt รับบทเป็น Jackie นักฆ่าเลือดเย็นที่มีบางมุมอ่อนไหวกลับมารับงานเก็บตัวแสบที่ฉกเงินของแก็งค์มาเฟียไป สั้นๆ แค่นั้น…
สิ่งที่คนดูอย่างเราจะได้รับก็คือ การจิกกัดแบบมีสาระ แบบไม่ยั้งมือของตัวหนังใน ช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในเชิงที่ว่า แม้อเมริกาจะเป็นผู้นำในหลายๆ เรื่องในสายตาของต่างชาติทั่วโลกในด้านการเงิน แต่เอาเข้าจริงแล้ว เนื้อในอเมริกาเป็นประเทศที่อ่อนไหวทางการเงินและมีโอกาสที่จะล่มสลายได้ง่ายๆ จากน้ำมือของตัวเอง เพราะความมั่นใจในสกุลเงิน ดอลล่าห์ของตัวเอง ทำให้ไม่มีทรัพย์สินอื่นอย่าง ทองคำ เหล็ก แร่ น้ำมัน มาหนุนหลัง พอเกิดวิกฤติเข้า ก้มีเพียงการสร้างกระแส และความเชื่อมั่นในประเทศตัวเอง (เหมือนประเทศอะไรนะ…? ที่มีความจริงวันนี้มาหลอกประชาชนรากหญ้า) หากต้องสร้างความเชื่อมั่นของประเทศ จากภาวะของผู้ลงทุนในตลาดอสังหาที่เข้าเชือดเฉือนกัน อาจจะมีผลทำให้สถาบันการเงินของอเมริกาหลายแห่งล้มได้ สิ่งนั่นก็จะมีผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ดังนั้นวิธีการที่จะไม่ให้ สถาบันการเงินใหญ่ๆ ล้มไปก็ต้องล่อเอาเงินสินเชื่อมาวนจ่ายให้ประชาชน เพื่อให้ประชาชนตาดำๆ เสียภาษี นั่นเอง
การจิกกัดประมาณนี้ โผล่แบบประเดประดัง พอดี หอมปากหอมคอ ตลอดการดำเนินเรื่อง ผ่านฉากสะท้อนของหนัง บทสนทนาของแต่ละตัวละคร พร้อมกับ วาทะการสร้างความเชื่อมั่นของผู้นำประเทศและ โยงเรื่องไปถึง Occupy Wall Street ที่ใส่หน้ากาก Guy Flawkes เหมือนหน้ากากขาวมาประท้วงนั่นแหละ เพราะสิ่งที่หนังเรื่องนี้ต้องการจะด่าก็คือ การที่อเมริกาปล้นเงินของประชาชนไปปรนเปรอนักลงทุน และสถาบันการเงินใหญ่ๆ แทน
ตัวเนื้อเรื่องของหนัง พาเราไปอยู่ในเหตุการณ์ส่วนนั้นจนกระทั่งไป สิ้นสุดที่ นโยบายของ บารัค โอบามา สมัยเลือกตั้งในนโยบาย “Change” ก่อนจะเป็นประธานาธิปดี และตัวหนังก็จบลงพร้อมๆ กัน โดยที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องเลยแม้แต่น้อย จะเกี่ยวก็แค่ วาทะของการจิกกัดและบทสนทนาเท่านั้น และเอาภาวะสั่นคลอนของอเมริกาตอนนั้นมา จำลองผ่าน แก็งค์มาเฟียแก๊งค์หนึ่ง เชิงอุปมาอุปมัย กับภาวะของการที่ไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นของแก็งค์ตัวเองได้เหมือนอเมริกานั่นเอง
หากจะบอกว่า คอหนัง Action จะผิดหวังไหมกับเรื่องนี้ ต้องเรียนตามตรงว่า ผิดหวังแน่ๆ เพราะภาพยนตร์ Killing Them Softly นั้นคือภาพยนตร์แสนสันที่เหมาะกับคนที่ชอบดูสารคดี History of America หรือภาวะการเงินของโลก เพราะเนื้อหนังที่เล่านั้นเต็มไปด้วยสาระที่มากมายพรั่งพรูออกจากประโยคเท่ๆ และบทพูดเกือบ ร้อยละ 90 ในการดำเนินเรื่อง แต่ถ้ามองในเชิงนักธุรกิจ และติดตามข่าวสารมาตลอดล่ะก็