ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

ดูหนัง One Flew Over the Cuckoo's Nest (1975) บ้าก็บ้าวะ เต็มเรื่อง

ดูหนัง One Flew Over the Cuckoo's Nest (1975) บ้าก็บ้าวะ เต็มเรื่อง - เว็บดูหนังดีดี ดูหนังออนไลน์ 2020 หนังใหม่ชนโรง
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังดราม่า

เรื่องย่อ : ดูหนัง One Flew Over the Cuckoo's Nest (1975) บ้าก็บ้าวะ เต็มเรื่อง

ดูหนัง One Flew Over the Cuckoo's Nest (1975) บ้าก็บ้าวะ เต็มเรื่อง

 

ภาพยนต์สัญชาติอเมริกา One Flew Over the Cuckoo's Nest  กำกับโดย Miloš Forman นำแสดงโดย Jack Nicholson ฉายเมื่อปี 1975 (เกิดไม่ทัน) สร้างมาจากนวนิยายเรื่อง One Flew Over the Cuckoo's Nest (1962) เขียนโดย Ken Kesey  ซึ่งเป็นหนังสือที่ถูกจัดอันกับเป็น 100 Best English-language Novels from 1923 to 2005 list โดย Time Magazine และยังเคยถูกสร้างเป็นละครเวทีในชื่อเดียวกัน ปี 1963 อีกด้วย เป็นภาพยนตร์Must-seeเรื่องหนึ่งถ้าไม่ได้ดูคงน่าเสียดาย

ในหนังสือนวนิยายจะเล่าเรื่องราวผ่านมุมมองของบรอมเดน ผู้ชายเชื่อสายอินเดียแดงร่างใหญ่ ผู้ซึ่งไม่ปริปากพูด แต่เราสามารถรับรู้เรื่องราวต่างๆได้ผ่านทางความคิดของเขา เหตุการณ์เกิดขึ้น ณ โรงพยาบาล Oregon State ในวอร์ดผู้ป่วยชายที่มีปัญหาทางจิต และนางพยาบาลแรทเช็ด หัวหน้าวอร์ดสุดเคร่งครัดที่ชอบควบคุมทุกอย่างให้อยู่ใต้อำนาจ จนกระทั่งวันนึงที่ผู้ป่วยใหม่สุดป่วน อย่างแมคเมอร์ฟีย์ (แสดงโดย Jack Nicholson) เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของวอร์ด สงครามประสาท ก็เริ่มต้นขึ้น . . . . .

IMDB : tt0073486

คะแนน : 8.7

รับชม : 432 ครั้ง

เล่น : 118 ครั้ง



One Flew Over the Cuckoo's Nest (1975) บ้าก็บ้าวะ

Cuckoo นอกจากแปลว่านกกาเหว่า ยังหมายถึงคนบ้า, ในโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง หมอ/พยาบาลดูแลปกครองผู้ป่วยด้วยความเข้มงวดราวกับเผด็จการ ก็มีทั้งคนปกติ เต็มใจ ไม่เต็มใจอาศัยอยู่ ครึ่งหนึ่งพอจะพูดคุยสนทนารู้เรื่อง แต่แค่เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ไม่ยอมพูดคุยโต้ตอบ ไม่คิดจะออกเสียงแสดงความคิดเห็น ถึงสามารถหนีเอาตัวรอดพ้นออกจากประเทศ/โลกใบนี้ได้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

บ้าก็บ้าวะ มันภาพยนตร์เกี่ยวกับคนบ้า-ไม่บ้า ในโรงพยาบาลจิตเวชไม่ใช่หรือ? หน้าหนังก็ใช่อยู่นะครับ แต่สำหรับคนที่สามารถครุ่นคิดไปต่อได้ จะพบว่าใจความของมันสอดไส้ประเด็นการเมืองหนักอึ้ง ในมุมของผู้แต่งหนังสือก็อย่างหนึ่ง ขณะที่ผู้กำกับ Miloš Forman สัญชาติ Czech ช่วงทศวรรษนั้นบ้านเกิด Czechoslovakia ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ (พันธมิตรของสหภาพโซเวียต) เลยถูกแบนห้ามสร้างภาพยนตร์ในประเทศ (เพราะเป็นพวก Anti-Communist) จำต้องอพยพลี้ภัยดั่งนกกาเหว่าตัวหนึ่งบินออกจากรังมุ่งสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ครั้งแรกที่ผมรับชมเมื่อหลายปีก่อน มองหนังเต็มไปด้วยความไม่สมเหตุสมผล แปลกพิลึกพิลั่น แทนที่เรื่องราวเกี่ยวกับคนบ้า/โรงพยาบาลจิตเวช จะนำเสนอมุมมองด้านดีๆ เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่านี่ไม่ใช่สถานที่น่ากลัวอันตราย ส่งเสริมให้ครอบครัวที่พี่น้องหรือลูกหลานมีความผิดปกติทางจิต กล้าเปิดอกยอมรับ เชื่อใจหมอ พึ่งพาได้กับสถานดูแลรักษาที่แตกต่างจาก Asylum/Bedlam/Mad House สมัยก่อนโดยสิ้นเชิง แต่ที่ไหนได้! โรงพยาบาลจิตเวชแห่งนี้ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยที่เป็นคนบ้า แต่ยังหมอและพยาบาลมากคลั่งยิ่งกว่า กระนั้นเพี้ยนสติแตกสุดต้องคือผู้สร้างภาพยนตร์ ทำอะไรไร้สติสตางค์เกินไปหน่อยหรือเปล่า!

หมอและพยาบาลสมัยนี้อาจมองโลกในแง่ดี ว่าภาพยนตร์นำเสนอสิ่งที่เป็นปัญหาของการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชสมัยก่อน ที่ยังขาดความรู้เข้าใจในวิธีการอันถูกต้องเหมาะสมควร ทั้งนี้ก็ขอให้เชื่อใจได้ว่า ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยแตกต่างจากที่พบเห็นในหนังน่าจะโดยสิ้นเชิงแล้วละ

กลับมารับชมครานี้รู้สึกว่าคิดถูกที่รับชม Amadeus (1984) มาก่อน ทำให้ได้ศึกษาค้นหาอ่านชีวประวัติคร่าวๆ เลยล่วงรับรู้ถึงเหตุผลความสนใจของผู้กำกับ Forman ว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องบ้าๆของคนบ้า-ไม่บ้า ทำความเข้าใจหนังในมุมนั้นจะพบเห็นความสมเหตุสมผลกว่ามาก แถมยังสะท้อนตัวตน ‘ศิลปิน’ ที่สามารถนำเอาจิตวิญญาณของตนเองแทรกใส่ลงในผลงานศิลปะ

ความสำเร็จของ One Flew Over the Cuckoo’s Nest เป็นสิ่งเกินความคาดหมายอย่างยิ่ง เพราะไม่มีสตูดิโอไหนอยากเป็นผู้จัดจำหน่ายให้ทุน แต่กลับทั้งทำเงินและกวาดรางวัล Big Five ห้าสาขาใหญ่สุดของ Oscar ประกอบด้วย Best Picture, Best Director, Best Actor, Best Actress และ Best Writing ในประวัติศาสตร์คือครั้งที่สองถัดจาก It Happened One Night (1934) ก่อนตามด้วย The Silence of the Lambs (1991) นี่การันตีคุณภาพได้เลยว่า ต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน

One Flew Over the Cuckoo’s Nest (1962) แรกสุดเลยคือนิยาย แต่งโดย Ken Kesey (1935 – 2001) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยกย่องจากนิตยสาร TIME ติดอันดับ ‘100 Best English-language Novels from 1923 to 2005’

Kesey ไม่ใช่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา แต่เขาเคย Part-Time ในศูนย์ดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ Menlo Park, California ระหว่างทำงานไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยสนทนากับใคร  กระนั้นก็ชอบเฝ้ามองสังเกตการณ์ พบเหตุอะไรๆแปลกประหลาดเกิดขึ้นมากมาย นอกจากนี้ยังเคยเป็นหนูทดลองยา อาทิ Mescaline, LSD ให้กับโปรเจค MKUltra (CIA Mind Control Program) ทำให้รับรู้ซึ้งเข้าใจผู้ป่วยจิตเวชโดยแท้

ตอนที่ Kesey เริ่มเขียนนิยายเล่มนี้เมื่อปี 1959 เป็นช่วงขบวนการสิทธิพลเมือง (Civil Rights Movement, 1955-68) ของประเทศอเมริกา กำลังมีการต่อสู้เรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันของคนผิวสี ความบ้าคลั่งวุ่นวายที่เกิดขึ้นนี้สร้างแรงบันดาลใจเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลจิตเวช กับสภาพสังคมอเมริกาขณะนั้น เจ้าหน้าที่รัฐพยายามจะไม่ยอมรับอารยะขัดขืนของประชาชนคนทั่วไป

นิยายเล่าเรื่องในมุมมองของ Chief ผู้มีเชื้อสาย Native American ไม่เคยพูดคุยสนทนากับใคร แต่ชอบเฝ้ามองสังเกตการณ์สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลจิตเวช (นี่คงแทนได้ด้วยผู้เขียน Kesey เองกระมัง) พบเห็น Nurse Ratched ตัวแทนของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ปกครองดูแลผู้ป่วยด้วยความเข้มงวดจริงจัง ขณะที่ Randle McMurphy ตัวแทนของประชาชน (คนปกติ) ที่ไม่พึงพอใจต่อการใช้อำนาจเด็ดขาดเบ็ดเสร็จ ลุกฮือขึ้นขัดขืนต่อต้านอำนาจรัฐเพื่อเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคเท่าเทียม