ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

ดูหนัง “UN+UNE เผลอเหงา ...แล้วรักได้ไหม” 2015 เต็มเรื่อง

ดูหนัง “UN+UNE เผลอเหงา ...แล้วรักได้ไหม” 2015 เต็มเรื่อง - เว็บดูหนังดีดี ดูหนังออนไลน์ 2020 หนังใหม่ชนโรง
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังตลก , หนังดราม่า

เรื่องย่อ : ดูหนัง “UN+UNE เผลอเหงา ...แล้วรักได้ไหม” 2015 เต็มเรื่อง

ดูหนัง “UN+UNE เผลอเหงา ...แล้วรักได้ไหม” 2015 เต็มเรื่อง

 

การกลับมาของ โคล้ด เลอลูช ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส เจ้าของผลงาน A Man and a Woman (1966) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหนังรักที่คลาสสิกตลอดกาล และพระเอกหนุ่มอารมณ์ดีเจ้าของรางวัลออสการ์จาก The Artist (2011) ฌอง ดูชาร์แดง ใน Un plus une หนังรัก...ที่แม้แต่คนชิงชังความรัก...ก็ยังอดตกหลุมรักไม่ได้
ฌอง ดูชาร์แดง มารับบท อองตวน คอมโพสเซอร์หนุ่มใหญ่ที่มีชื่อเสียงจากการประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ เมื่อชีวิตดำเนินมาถึงจังหวะเชื่องช้าน่าเบื่อ อองตวนจึงรับงานไปทำดนตรีประกอบให้กับหนังบอลลีวู้ดเรื่อง Romeo and Juliet เพื่อให้ชีวิตได้เจอกับอะไรใหม่ๆ ท้าทายบ้าง

นั่นทำให้เขาจำต้องเดินทางไปทำงานในประเทศอินเดีย ทันทีที่ไปถึง สถานทูตฝรั่งเศสในนิวเดลีก็จัดงานต้อนรับเขาอย่างใหญ่โตเอิกเกริก และที่นั่นเองที่อองตวนได้เจอกับ อานนา (เอลซ่า ซิลแบร์สไตน์) ภริยาของท่านทูตที่ดูเหมือนจะเป็นผู้หญิงที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับเขาทุกอย่าง

แต่ความ “ไม่เข้ากัน” นั้นก่อให้เกิดแรงดึงดูดบางอย่างที่อธิบายไม่ได้ อานนา กำลังจะออกเดินทางจากเมืองหลวงไปหานักพรตชื่อดังคนหนึ่งในรัฐเกรละเพื่อทำพิธีขอบุตร อองตวน ผู้ซึ่งไม่เชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติและค่อนข้างมองโลกอย่างเย้ยหยัน ขอติดตามเธอไปด้วย โดยอ้างว่าถ้านักพรตคนนั้นมีพลังวิเศษจริง เขาน่าจะไปรักษาโรคไมเกรนเรื้อรังเสียด้วยเลย

การเดินทางจากเดลีถึงเกรละ กลายเป็นการผจญภัยที่คนทั้งคู่แลกเปลี่ยนโลกทัศน์ท่ามกลางภูมิทัศน์ที่แปลกตาของชมพูทวีป มันช่วยเพิ่มรสจัดจ้านและหอมหวานในชีวิต แบบที่อองตวนไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน

แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเขาและเธอจะพัฒนาไปให้ลึกซึ้งกว่าเดิมได้อย่างไร ในเมื่ออานนาเป็นถึงภริยาท่านทูต (และกำลังเตรียมตัวจะมีลูก) และขณะเดียวกัน แฟนสาวของอองตวนก็เดินทางมาหาเขาที่อินเดียด้วยความคิดถึง...นักพรตจะช่วยปัดเป่าปัญหาหัวใจให้ด้วยได้ไหมหนอ?

เมื่อชีวิตแวะพัก...ความรักก็ส่งเสียงทักทาย

IMDB : tt1918911

คะแนน : 6.2

รับชม : 205 ครั้ง

เล่น : 29 ครั้ง



“UN+UNE เผลอเหงา ...แล้วรักได้ไหม” 2015

ทุกวันนี้ขึ้นชื่อว่าหนังรักโรแมนติก เรากำลังคิดกันว่า สิ่งที่ผ่านเข้ามานอกจากความฟินความจิ้นที่ใครคาดหวังจากหน้าหนังแล้ว เมสเซจของหนังโทนติ๊ดชึ่งเหล่านี้จะ ‘มีอะไร’ ที่จะเข้ามาเติมเต็มประกอบร่างให้หนังไม่เลี่ยนและตรึงใจคนดูได้ในคราเดียว ซึ่งโจทย์ตรงนี้ผู้กำกับมักจะใช้ ‘การเดินทาง’ มาเป็นสะพานปะติดปะต่อกับเส้นเรื่องหรือการผูกปมเดิมๆ ก่อนจะหาทางลงฟินๆ อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์บางๆ แบบนั้นไม่สามารถนำมาตัดสินภาพยนตร์อย่าง Un + Une ของผู้กำกับรุ่นเก๋ามือรางวัลออสการ์ โคล้ด เลอลูช ได้เลย

หนังในสไตล์นี้ ‘จังหวะ’ และ ‘เวลา’ ถูกนำมาเป็นส่วนสำคัญในการเดินเรื่อง ซึ่งถึงเวลาที่บทเพลงในท่วงทำนองของ อองตวน คอมโพสเซอร์หนุ่มใหญ่ขี้เล่น (ฌอง ดูชาร์แดง) จะตัดสินใจเปลี่ยนความจำเจในการทำงานด้วยการเลือกเดินทางมาทำซาวน์แทร็กประกอบหนัง Romeo and Juliet เวอร์ชันบอลลีวูดที่อินเดีย ก่อนจะได้พบกับ อานนา (เอลซ่า ซิลแบร์สไตน์) ภรรยาของท่านทูต ซามูเอล (คริสโตเฟอร์ แลมเบิร์ต) ซึ่งกำลังจะมีลูกด้วยกัน แน่นอนว่าการผูกปมในเรื่องนี้เป็นจุดหนึ่งที่น่าสนใจและทำออกมาได้ดีเลยทีเดียว การจัดการกับความเนือยของหนังด้วยไดอะล็อกที่ฉลาดแยบคาย วิธีที่หนังค่อยๆ ถอดแคแร็คเตอร์ของ อองตวน และ อานนา ออกมาอย่างเหนือชั้นผ่านบทสนทนาเรียบง่าย แต่กลับทำให้คนดูเดินเข้าถึงจิตใจของตัวละครหลักได้ลึกซึ้งขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว ไหลลื่นและมีลอจิกที่ปะติดปะต่อในแต่ละซีนรับกันอย่างลงตัวอีกด้วย

un-une-de-claude-lelouch_5479328

ในช่วงแรกของหนังพยายามนำเสนอความแตกต่างกันของตัวพระนาง ด้วยความไม่ ‘พยายาม’ ยัดเยียดเหตุการณ์บางอย่างเพื่อจะปูประเด็นนี้เหมือนหนังหลายๆ เรื่องทำ กลับกันมันเป็นหนังที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวทางการแสดงของนักแสดงสูง ซึ่ง performance ของคู่พระนางรุ่นใหญ่ ทั้ง ฌอง และ เอลซ่า ต้องบอกว่า ‘เอาอยู่’ จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทหนุ่มใหญ่ขี้เล่นเจ้าสำราญแต่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์เหลือล้นกับหญิงสาวผู้เลือกที่จะเดินตามปรัชญาความเชื่อที่เธอค้นพบความสุข ทั้งคู่เก็บรายละเอียดการแสดงได้ดีมากในแบบฉบับของนักแสดงมือเก๋า ทำให้ตัวหนังยกระดับตัวเองให้น่าสนใจขึ้นมาทันทีตั้งแต่ครึ่งแรกของเรื่อง และนี่คือความแตกต่างของการใช้นักแสดงรุ่นใหญ่มาเล่นเมื่อเทียบกับนักแสดงวัยละอ่อน โดยเฉพาะในเรื่องของการถ่ายทอดอารมณ์ที่โดดเด่นมาก

1280x720-wUr

นอกจากกิตติศัพท์การเป็นเจ้าพ่อหนังรักของ โคล้ด เลอลูช ตั้งแต่หนังรักตั้งแต่รุ่นพ่ออย่าง A Man and A Woman (1966) หรือ Les Misérables (1995) แล้ว ยังมี โรเบิร์ต อลาซรากี้ มากำกับภาพให้รวมทั้งนักแต่งเพลงดีกรีรางวัลออสการ์ 3 สมัยอย่าง ฟรานซิส เลย์ มาทำซาวน์แทร็ก ซึ่งทีมงานพวก เดอลูช ต้องบอกว่าคุ้นเคยกับหนังรักโรแมนติกเป็นอย่างดี จุดเด่นที่น่าสนใจอย่างมากคือการขับเคลื่อนของเรื่องราวต่างๆ นอกจากไดอะล็อกฉลาดๆ แล้ว ยังมีช่วงที่หนังเดินเรื่องให้คนดูเกิดอารมณ์ร่วมด้วยการถ่ายทอดมุมมองผ่านการกำกับภาพชั้นเซียน มันคือความเก๋าของ เลอลูช ที่แสดงให้เห็นว่าเขาไม่จำเป็นต้องพึ่งบทพูดสวยๆ ดูซับซ้อน ก็สามารถตรึงคนดูได้อยู่ดี จุดนี้ถือเป็นโรงเรียนสอนภาษาหนังให้นักศึกษาบทหนึ่งเลย

maxresdefault

เมสเซจของหนังสอดแทรกกลิ่นอายของปรัชญาเชื่อมโยงกับสไตล์หนังรักโรแมนติกฝรั่งเศสฉบับคลาสสิกอยู่เป็นระยะ การย้ำเตือนข้อความซ้ำๆ ในเรื่องแบบฟอร์มของความรัก คือการยินดีที่จะให้ความรักกับใครก็ได้บนโลก ตั้งแต่ อองตวน ยังเป็นหนุ่มใหญ่ที่ไม่มีสิ่งใดยึดเหนี่ยว จนกระทั่งผ่าน turning point ผ่านความขัดแย้งจน อองตวน ค่อยๆ เปลี่ยนทัศนคติ ผมสังเกตว่าแคแร็คเตอร์ที่ เลอลูช นิยมในการมาใส่ในหนังแต่ละเรื่องคือ การนำเสนอตัวละครที่เป็นสีเทาเสมอ มันทำให้หนังไม่เลี่ยน ความคิดของคนรุ่นเก่าที่เรียบง่ายลึกซึ้ง คนดูจะรู้สึกได้ว่าผู้กำกับคนไหนทำหนังด้วยการ ‘เอาใจไปจับ’ ความรู้สึกของคนดู วิธีการเล่าช้าๆ แต่ฉลาดคมคาย ทำให้ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมใครๆ ก็บอกว่า โคล้ด เลอลูช คือเจ้าพ่อหนังรักของโลกภาพยนตร์ที่ยังมีลมหายใจอยู่