ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

They Shall Not Grow Old (2018) [บรรยายไทย]

They Shall Not Grow Old (2018) [บรรยายไทย]
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังสารคดี , หนังประวัติศาสตร์ , หนังสงคราม

เรื่องย่อ : They Shall Not Grow Old (2018) [บรรยายไทย]

ชื่อภาพยนตร์ : They Shall Not Grow Old
แนว/ประเภท : Documentary,  History,  War
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Peter Jackson
บทภาพยนตร์ : -
นักแสดง : Thomas Adlam,  William Argent,  John Ashby
วันที่ออกฉาย : 16 October 2018

 

 

A documentary about World War I with never-before-seen footage to commemorate the centennial of Armistice Day, and the end of the war.

ภาพสงครามโลกในแบบไม่เคยเห็นในตัวอย่าง They Shall Not Grow Old ของปีเตอร์  แจ็คสัน | JEDIYUTH

IMDB : tt7905466

คะแนน : 8

รับชม : 1119 ครั้ง

เล่น : 430 ครั้ง



 

 

จริงๆ แล้ว They Shall Not Grow Old อาจไม่ใช่หนังหรือไม่ใช่สารคดี มันคือวิดีโอคอนเซปต์ที่ว่าด้วยการชุบชีวิตฟุตเทจเก่าๆ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เป็นม้วนฟิล์มหนังขาว-ดำอายุประมาณ 100 ปี และไม่มีแถบบันทึกเสียงแต่อย่างใด เขานำมันมาลงสีใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง และเพิ่มเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงเอฟเฟกต์ต่างๆ รวมถึงดนตรีประกอบแบบภาพยนตร์ ซึ่งจะทำให้ฟุตเทจทางประวัติศาสตร์ธรรมดาๆ กลายมามีชีวิตอีกครั้งด้วยเสียงและสี (แบบคนสมัยใหม่) ตัวชิ้นงานนั้นไม่มีผู้บรรยายหรือดำเนินเรื่องอะไรมากมาย มีเพียงแต่ภาพสแนปช็อตชีวิตของบรรดานายทหารอังกฤษที่ไปรบที่ยุโรป ตัวหนังฉายไปในวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ อังกฤษ ฉายรอบเดียวในโรงภาพยนตร์พร้อม Q&A กับปีเตอร์ แจ็คสัน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1 

 

They Shall Not Grow Old (2018) (Subtitulada) - Movies on Google Play

 

เอาจริงๆ แล้วก็ไม่มีใครเหมาะกับโปรเจกต์เท่าเขาแล้วล่ะครับ บุรุษผู้ใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่าในการสร้างภาพยนตร์อย่างเขา (แถมหลังๆ เลยเถิดไปสร้างเกม ไปสร้างอะไรอย่างอื่นเต็มไปหมดที่เป็นภาพเคลื่อนไหวและไม่ใช่หนัง) คือคนที่น่าจะใช้เทคโนโลยีมาสร้างสิ่งใหม่ให้ฟุตเทจเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ การทำงานของปีเตอร์มันไม่ใช่แค่การแต่งสีเติมเสียงเพิ่ม เพราะตัวเขาเนิร์ดกว่านั้น ตัวอย่างเช่น ปกติถ้าเราเห็นฟุตเทจภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ เราจะสังเกตเห็นได้ว่า ภาพมันจะกระตุกๆ นิดๆ ไม่ได้ลื่นไหลเหมือนสมัยนี้ เป็นเพราะว่ากล้องสมัยก่อนเวลาถ่ายอะไรนั้น เฟรมเรตจะบันทึกได้ช้ากว่าเฟรมเรตปัจจุบัน (ลองคิดถึงว่าเรากดถ่ายภาพนิ่งรัวๆ แล้วมาเรียง ตอนเล่นมันก็จะกระตุกๆ ในขณะที่ถ้าเราถ่ายวิดีโอเลย ภาพที่ได้ก็จะลื่นตามจริง) สิ่งที่ปีเตอร์ทำกับหนังเรื่องนี้คือ การใช้คอมพิวเตอร์เติมเฟรมเรตที่หายไปให้กับฟุตเทจเหล่านั้น แปลว่าคราวนี้ฟุตเทจสงครามที่เราจะได้เห็นนั้นก็จะลื่นไหลเหมือนถ่ายด้วยฟิล์มหรือวิดีโอในปัจจุบัน ซึ่งจะให้ความรู้สึกสมจริง เป็นปัจจุบันมากขึ้น ไม่รู้สึกว่าเป็นของเก่าจากประวัติศาสตร์อีกต่อไป นี่อาจจะเรียกได้ว่า หนังคือไทม์แมชชีนได้อย่างแท้จริง 

นี่อาจจะไม่เนิร์ดพอ คนอย่างเขาต้องเนิร์ดสุดกว่านั้น ในด้านการเติมเสียงประกอบฟุตเทจ ต้องไม่ใช่แค่เติมเสียงซาวนด์เอฟเฟกต์ปืน เสียงเดินเท้า หรือเสียงเพลงประกอบ เพราะทีมงานของปีเตอร์ตัดสินใจว่าจะไปกันถึงขั้นเติมไดอะล็อกเข้าไปใส่ปากของคนในฟุตเทจ ด้วยการใช้วิธีเอานักอ่านปากมาถอดความเลยว่าคนในฟุตเทจพูดว่าอะไร แล้วหาคนพากย์เสียงเพิ่มเข้าไป ดังนั้นจากฟุตเทจที่ไม่เคยมีเสียงมาก่อน ตอนนี้เราก็สามารถเข้าใจว่านายพลกำลังสั่งการอะไรกับบรรดาทหารของเขา

 

They Shall Not Grow Old review: Peter Jackson brings controversial colour  to WWI footage | Sight & Sound | BFI

 

ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่ามุมมองเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์รวมถึงสื่อภาพเคลื่อนไหวนั้นเปลี่ยนไปอย่างมากมาย แต่เดิมงานคอมพิวเตอร์กราฟิกมีไว้สร้างความบันเทิงบนจอภาพยนตร์ เอาไว้สร้างไดโนเสาร์ หุ่นยนต์หรือของใหญ่ๆ ตอนนี้มันก็เริ่มถูกเอามาใช้แบบเล็กๆ เรียลๆ เช่นการทำให้นักแสดงอายุเยอะกลายเป็นหนุ่มอีกครั้ง นอกจากนี้มันก็เริ่มกระจายตัวออกไปสื่อภาพเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่ไม่ใช่หนัง อาจจะเป็นวิดีโอเกม งาน VR หรือสาย Augmented Reality กระทั่งเริ่มเข้าสู่วงการประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยการบูรณะสื่อภาพเคลื่อนไหว กระแสรักษาแผ่นฟิล์มเก่าๆ ไม่ให้ผุพังสูญสลายเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการนำของ Martin Scorsese นอกจากนั้นสายงานเบื้องหลังอย่างการ remastering และ restoring หนังเก่าๆ ด้วย CG และคอมพิวเตอร์ (ซ่อมความพังของภาพหนัง หรือทำให้สีที่ซีดจางและมืดกลับมามีสีสันแบบที่ควรจะเป็นได้อีกครั้ง) ก็ถูกโปรโมตให้เป็นที่รับรู้กันมากขึ้น ไม่ก็กลายเป็นจุดขายของแผ่นบลูเรย์ต่างๆ ทำให้เด็กเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ได้ดูหนังในสภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น (แม้ว่าบางครั้งจะมีข้อถกเถียงกันเรื่อยๆ ว่า ไปแก้สีภาพหนังเก่าเหล่านั้นจะรู้ได้ไงว่ามันถูกต้องตามต้นฉบับอย่างที่ผู้กำกับต้องการ ถ้าเกิดผู้กำกับคนนั้นเสียชีวิตไปแล้วและไม่ได้มานั่งแก้สีด้วย) 

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องน่าดีใจนะครับ ที่ภาพยนตร์เริ่มขยายความหมายของตัวเองออกไปมากกว่าความบันเทิง ถูกนำไปประยุกต์กับงานแบบอื่น ด้วยจุดประสงค์อื่น และน่ายินดีที่บิ๊กเนมอย่างปีเตอร์ แจ็คสัน เลือกที่จะเอาเวลาจำนวนมากและใช้ความรู้ความสามารถที่ตัวเองมีสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อ box office เพียงอย่างเดียว

บางครั้งถ้าหัวเรือใหญ่กรุยทางไว้ให้ ก็อาจสร้างแรงกระเพื่อมให้อีกหลายหัวเรือล่องตามมาได้, หวังว่านะ