ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

Minari (2020) [บรรยายไทย]

Minari (2020) [บรรยายไทย]
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังดราม่า

เรื่องย่อ : Minari (2020) [บรรยายไทย]

ชื่อภาพยนตร์:  Minari (2020)
ผู้กำกับภาพยนตร์:  Lee Isaac Chung
ผู้เขียนบทภาพยนตร์: Lee Isaac Chung
นักแสดง: Steven Yeun, Yeri Han, Alan S. Kim
แนว/ประเภท:  ดราม่า
ความยาว:
วันที่ฉาย: 11 มีนาคม 2564

 

 

 

เป็นภาพยนตร์วิถีเอเชียเพียงหนึ่งเดียว ที่ได้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลใหญ่สุดของเวที

Minari จึงเป็นหนึ่งในแปดของภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่ได้คัดสรรแล้วว่า ดีที่สุดของปีนี้ เหล่านักวิจารณ์ให้การตอบรับเป็นอย่างดี และมีคะแนนในเว็บ Rotten Tomatoes สูงถึงร้อยละ 98 กำลังถูกจับตามองในฐานะภาพยนตร์ที่ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ปี 2564 จำนวนมากถึง 6 สาขา โดยเป็นผลงานเขียนบทของผู้กำกับฯ ที่ได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากชีวิตจริงในวยเด็กของตนเอง

ลี ไอแซค ชุง เป็นผู้กำกับชายชาวเอชียที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมและมีชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเป็นประกันคุณภาพอีกด้วย

มินาริ  คือดอกไม้ป่าพืชผักพื้นบ้านเกาหลี ออกดอกสีเหลืองสวยงาม แถมยังกินได้และดีต่อสุขภาพที่ยายของตระกูลอีนำมาปลูก สื่อความหมายถึงความอดทนมั่นคงมั่งคั่ง และยังเจริญเติบโตได้ดีที่สุด......

เรื่องราวชีวิตของชาวเกาหลีครอบครัวตระกูลอี พร้อมชาวเกาหลีจำนวนมากที่อพยพหนีความแร้นแค้นมาอาศัยตั้งรากฐานบ้านเรือนอยู่ที่รัฐอาร์คันซอ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างปี 1976-1990 พวกเขาไปตั้งต้นสร้างครอบครัวเป็นชาวสวนชาวไร่ในดินแดนที่ไม่คุ้นเคย อีกทั้งยังแวดล้อมไปด้วยผู้คนกับสังคมที่แปลกแตกต่าง พวกเขาต้องพบกับบททดสอบมากมาย ซึ่งจำต้องเรียนรู้และปรับตัว

IMDB : tt10633456

คะแนน : 7.5

รับชม : 464 ครั้ง

เล่น : 113 ครั้ง



 

 

‘มินาริ’ เป็นเรื่องราวของ ครอบครัว ‘อี’ ชาวเกาหลีที่อพยพมาอยู่ในอเมริกาในยุค 80 พวกเขาเพิ่งย้ายมาจากแคลิฟอร์เนียที่ เจค็อบ และ โมนิก้า ทำงานแยกเพศลูกไก่อยู่หลายปี ได้เงิน แต่ไม่มีอะไรเป็นของตัวเองเลย สู่รัฐอาคันซอด้วยความหวังที่จะทำไร่ ปลูกพืชผักเกาหลี และสร้างชีวิตที่มั่นคงกว่าเดิม และระหว่างที่พวกเขาหยั่งรากในผืนดินใหม่ พวกเขาต้องต่อสู้กับอุปสรรคมากมายเพื่อที่จะเติบโตอย่างมั่นคง เช่นเดียวกับ เดวิด และ แอนน์ ลูกทั้งสองของพวกเขาที่ต้องปรับตัวกับสังคมใหม่ และ ซุนจา คุณยายที่ย้ายมาจากเกาหลีเพื่อดูแลพวกเขา ซึ่งแหวกขนบคุณยายใดๆ ที่พวกเขาเคยรู้จักมา

 



แม้จะเป็นเรื่องของครอบครัวและวัฒนธรรมเกาหลีที่ดูเฉพาะตัว แต่เรื่องราวของการต่อสู้เพื่อมีชีวิตที่ดีขึ้น ในยุคที่ใครต่างก็มองอเมริกาเป็นดินแดนแห่งโอกาสอย่างยุค 80s การเติบโตระหว่างสองวัฒนธรรมที่ต่างกันอย่างสุดขั้ว นั้นเป็นเรื่องที่ชาวอเมริกันเชื้อสายต่าง ๆ ผู้ที่ใช้ชีวิตนอกบ้านเกิด หรือแม้แต่เด็กลูกครึ่ง น่าจะเข้าใจได้เป็นอย่างดี และสำหรับผู้ชมที่โตมาพร้อมคุณย่าคุณยาย ก็จะเข้าใจเรื่องราวการปรับตัวกับผู้ใหญ่ที่มีความเชื่อต่างกัน และช่องว่างระหว่างวัยของเดวิดกับคุณยายได้ไม่ยากเลย ไม่แปลกที่ ‘มินาริ’ จะสัมผัสใจผู้คนได้ทั่วโลก

 



ตัวเรื่องนั้นเต็มไปด้วยประเด็นทางสังคมถูกสะท้อนผ่านฉากชีวิตของตัวละคร เช่น Racism หรือการเหยียดเชื้อชาติ ทั้งเอเชียเหยียดฝรั่ง ฝรั่งเหยียดเอเชีย หรือแม้แต่การเหยียดในหมู่ชาวเกาหลีด้วยกันเอง ถูกแสดงให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง แต่เรื่องก็คลี่คลายให้เห็นว่าการพยายามเรียนรู้และทำความเข้าใจในกันและกันจะทำให้กำแพงนี้ถูกทะลายลง อย่างการที่เจค็อบบ่นอยู่บ่อยครั้งว่าพวกฝรั่งงมงายในขณะที่ชาวเอเชียใช้สมองมากกว่า แต่สุดท้ายก็ยอมรับความเชื่อที่เคยว่างมงายนั้นในที่สุด การที่เดวิดไม่ยอมนอนกับคุณยาย เพราะเธอมี ‘กลิ่นเกาหลี’ แม้จะแสดงออกมาอย่างไร้เดียงสา ผ่านตัวละครเด็กชายที่น่าเอ็นดู แต่ก็ทำให้เห็นการแบ่งแยกที่เริ่มเกิดขึ้นในใจตั้งแต่เยาว์วัยและในหมู่ชาชาติเดียวกันด้วยซ้ำ แต่ในที่สุดก็วิ่งไปหาเพื่อขอให้คุณยายอยู่ด้วยกันเมื่อได้เข้าใจกันมากขึ้นแล้ว

 



ฉากที่ครอบครัวอีไปที่โบสถ์และเป็นชาวเอเชียกลุ่มเดียวในนั้น เป็นหนึ่งในฉากที่สะท้อนประเด็นเรื่องการเหยีดเชื้อชาติได้ดีที่สุดในเรื่อง โดยเฉพาะในตอนที่เด็กชายฝรั่งมาเข้าถามเดวิดว่าทำไมหน้าของเขาถึงแบนกว่า คำถามที่สมัยนี้ใครก็คงโกรธและนำไปโพสท์กันให้ว่อนในอินเทอร์เน็ต แต่เมื่อถูกถามโดยเด็กสู่เด็กอีกคน ทำให้เราได้เห็นว่าหลายครั้งสิ่งที่เรามองว่าเป็นการเหยียด เกิดขึ้นจากความไม่รู้ และอาจมีความอยากจะเข้าใจแฝงอยู่ในนั้นก็ได้ เช่นเดียวกับการที่แอนน์ฟังภาษาชิงชองของเด็กหญิงฝรั่งที่เธอพูดด้วย และจับคำที่ทั้งสองสามารถเข้าใจร่วมกันได้ในหลายภาษาได้ นี่อาจะเป็นการสื่อสารว่าหากเราไม่มองการไม่รู้ของพวกเขาเป็นเรื่องผิดบาป ไม่ตัดสินกัน และพยายามหาจุดร่วม สุดท้ายมิตรภาพอาจงอกงามขึ้นได้ ซึ่งสารนี้ก็ถูกเน้นตลอดเรื่องด้วยความความสัมพันธ์ของพอลและเจค็อบ ที่แม้พอลจะแปลกและแตกต่าง ด้วยความเชื่อแบบคริสเตียนสุดโต่ง แต่ทั้งสองมุ่งไปที่เป้าหมายของการทำไร่ให้ประสบความสำเร็จด้วยกัน การสัมผัสได้ถึงความหวังดีและจริงใจโดยที่ไม่มีการชี้นิ้วว่าความเชื่อของใครเป็นเรื่องผิด ทำให้เกิดการรวมตัวของวัฒนธรรมและมิตรภาพ

 



สิ่งที่น่าชื่นชมคือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในเรื่องถูกใช้อย่างเรียบง่ายแต่ทรงพลัง เช่นความเป็นชาวเกาหลีรุ่นแรกที่เติบโตในต่างแดนถูกเปรียบเทียบผ่าน ‘มินาริ’ หรือ ผักชีล้อม ที่คุณยายนำมาปลูกไว้ที่ริมน้ำ เพราะผักชีล้อมเป็นพืชที่โตง่าย อดทน และมีประโยชน์มากมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นความอดทนเรียนรู้ที่จะปรับตัวที่พาให้ชาวเกาหลีเติบโตอย่างงดงามที่ไหนก็ได้ ความแตกต่างของเดวิดและคุณยายที่สะท้อนผ่านสีขาวและดำของไพ่ go stop ที่คุณยายใช้เชื่อมสัมพันธ์กับหลานรัก สิ่งเล็กๆ เหล่านี้ทำให้ฉากชีวิตที่ดูธรรมดาของครอบครัวหนึ่งเปี่ยมไปด้วยความหมาย

 



ความน่าสนใจของ ‘มินาริ’ นอกจากเนื้อเรื่องและบทภาพยนตร์ ที่ละเอียดอ่อนและสมจริง สมกับที่อ้างอิงจากชีวิตวัยเด็กของ ‘อี ไอแซก จอง’ ผู้กำกับและผู้เขียนบทภาพยนตร์เองแล้ว คือความเป็นแอนตี้ฮอลลีวูดนิด ๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้ ทั้งที่ตัวละคร เรื่องราวที่ชวนให้นึกถึงภาพยนตร์ที่ได้รับออสการ์ก่อน ๆ กับเรื่องของมนุษย์ที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรค เพื่อประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ที่ต่างออกไปคือวิธีการเล่าเรื่อง ที่เรียบง่าย ละเอียดอ่อน ด้วยจังหวะการแสดงและการเล่าเรื่องที่ใกล้เคียงชีวิตจริง กราฟของเรื่องจึงค่อยๆ ขึ้นลงเหมือนเนินที่โค้งละมุน ไม่มีจุดหักเหที่ชวนตกใจมากนัก แต่ก็ไม่ได้ช้าจนน่าอึดอัดแบบพวกหนัง slow buners ทั้งหลาย แม้เรื่องราวมันช่างดูเย้ายวนชวนให้ขยี้ดราม่า โหมดนตรีจากวงออเคสตร้า เพื่อกระชากน้ำตาจากคนดู แต่มินาริก็ประคองตัวผ่านหุบเหวแห่งความคลิเชไปได้อย่างงดงามด้วยดนตรีประกอบโดย ‘เอมิล มอสเซรี’ คอยโอบอุ้ม แต่ไม่ชี้นำอารมณ์และคลอเคลียไปกับเสียงธรรมชาติในทุกฉากได้เป็นหนึ่งเดียว เหมือนการระบายสีน้ำบางๆ ลงไปในช่องว่างของภาพวาดให้ดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 



การแสดงที่ละเอียดและเป็นธรรมชาติของทุกตัวละครทำให้ทุกอย่างถูกถ่ายทอดอย่างสมจริงน่าประทับใจ แต่แน่นอนว่าสามนักแสดงที่โดดเด่นที่สุดคือ หนุ่มน้อย ‘อลัน คิม’ ผู้รับบท เดวิด ที่ทั้งเล่นได้น่าเอ็นดูจนขโมยใจเลยไปเลย ‘สตีเฟ่น ยอน’ ในบท เจค็อป ที่สายตามุ่งมั่นแม้จะทดท้อในบางครั้งของเขาทำให้เราอยากเอาใจช่วย และ ‘ยูนยอจอง’ ในบท ซุนจา ที่ทำให้เห็นการแสดงที่น่ารัก และน่าสะเทือนใจ สีหน้าที่บรรยายความรู้สึกของตัวละครได้อย่างหมดจด ทำให้เรารู้ซึ้งถึงการแสดงที่หล่อหลอมมาพร้อมกับ ประสบการณ์ วัย และกาลเวลา เป็นการแสดงที่สมกับการเข้าชิงรางวัลออสการ์อย่างแท้จริง

 



หาก ‘พาราไซต์’ คือผู้ทำลายกำแพงของภาษา และแผ้วถางทางให้กับภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องราวของคนเอเชียในเวทีโลกโดยเฉพาะเวทีอย่างอะคาเดมีอวอร์ดใหญ่ ‘มินาริ’ ก็คือผู้ปลูกเมล็ดและขยายพันธุ์ ให้ความแตกต่างได้เติบโต ต้องรอลุ้นว่า ‘มินาริ’ จะเก็บเกี่ยวรางวัลได้กี่สาขาในปีนี้