ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

Wrath of Desire (2020) [บรรยายไทย]

Wrath of Desire (2020) [บรรยายไทย] เต็มเรื่อง
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังดราม่า , หนังลึกลับซ่อนเงื่อน , หนังโรแมนติก

เรื่องย่อ : Wrath of Desire (2020) [บรรยายไทย]

ชื่อภาพยนตร์ : Wrath of Desire
แนว/ประเภท : Drama,  Romance,  Mystery
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Zero Chou
บทภาพยนตร์ : Zero Chou
นักแสดง : Yu-Ting Hsu,  Shang-Ho Huang,  Peace Yang
วันที่ออกฉาย : 10 March 2020

 

 

Androgynous Phoenix Du, the illicit daughter of a presidential candidate, kills the thug who breaks into her apartment to silence her. She comes before prosecutor Jade Liu, guilt-ridden from the suicide of her brother and her strict Catholic upbringing. Before demanding Phoenix’s three-and-a-half years sentence for manslaughter, Jade has a night of passion with her that redirects both their lives. Phoenix writes her hundreds of letters and begs her to wait for her release. In fear of her own desire, Jade marries Meng Ye, the genderless young man she saved from prison who reminds her of her brother…



IMDB : tt14442348

คะแนน : 6.8

รับชม : 5526 ครั้ง

เล่น : 2275 ครั้ง



 

 

หนังสัญชาติเยอรมันโดยผู้กำกับ Wim Wenders ที่คว้ารางวัล Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Cannes นำเสนอภาพของเหล่าเทวดา (guardian angels) ที่เฝ้ามองมนุษย์อยู่อย่างใกล้ชิด จนหนึ่งในนั้นเกิดความต้องการที่จะใช้ชีวิตเหมือนคนธรรมดา จึงตัดสินใจลงมาเกิดเป็นมนุษย์ สุดยอดงานถ่ายภาพ ตัดต่อและเพลงประกอบที่สุดประหลาด หนังเรื่องนี้ติดอันดับ 64 ใน The 100 Best Films Of World Cinema ของนิตยสาร Empire และติด All-TIME 100 Movies ของนิตยสาร TIME

New German Cinema หรือ German New Wave เป็นยุคหนึ่งของวงการภาพยนตร์เยอรมัน ในช่วงปี 1962 – 1982 จะถือว่าผู้กำกับที่เริ่มต้นทำหนังในยุคนี้ เลียนแบบแนวคิดมาจาก French New Wave ก็ว่าได้ เริ่มต้นสร้างหนังโดยใช้ทุนต่ำ เมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็เอาผลงานไปเสนอสตูดิโอเพื่อสร้างหนังใหญ่ที่ใช้งบสูงขึ้นได้ ผู้กำกับที่มีชื่อเสียงอาทิ Werner Herzog, Volker Schlöndorff (The Tin Drum-1979) และ Wim Wenders ที่จริงมีผู้กำกับอีกหลายคนนะครับ แต่ที่ได้รางวัลในระดับๆชาติ (และที่ผมรู้จัก) มีเพียง 3 คนนี้เท่านั้น

Wim Wenders เป็นผู้กำกับที่ยังมีชีวิตอยู่ (ปี 2016 อายุ 70 ปี) เขากวาดรางวัลสำคัญๆมาเกือบหมดแล้ว ในเทศกาลหนังเมือง Cannes ได้ Palme d’Or (Paris, Texas – 1984), Best Director (Wing of Desire), Grand Prix (Faraway, So Close! – 1993) เทศกาลหนังเมือง Venice ก็เคยได้ Golden Lion (The State of Things – 1982) ถึงขนาดเทศกาลหนังเมือง Berlin มอบ Honorary Golden Bear ให้เมื่อปี 2015 เคยได้รับเกียรติให้เป็นประธาน Jury ของเทศกาลหนังเมือง Cannes เมื่อปี 1989 (ปีนั้น Sex, Lies, and Videotape ของ Steven Soderbergh ได้ Palme d’Or) เท่านี้คงการันตีความสำเร็จของ Wim Wenders ได้เป็นอย่างดี

 

Wrath of Desire (2021) TORRENT - YIFY Movie / YTS IN (2020-11-22,)

 

ผมได้รู้จัก Wim Wenders ก็จาก Wings of Desire นี่แหละ หนังได้รับการกล่าวถึงและติดลิสหนังยอดเยี่ยมหลายๆชาร์ท จึงเกิดความสนใจ และก็ไม่ผิดหวังเลย ผมเพิ่งได้ดูหนังของเขา 2 เรื่องเท่านั้น จึงยังไม่สามารถจับสไตล์การกำกับของเขาได้ แต่ที่เห็นจากงานถ่ายภาพ รู้สึกว่า Wenders จะเด่นมากกับถ่ายภาพภูมิทัศน์ที่รกร้าง สภาพเมืองที่เสื่อมโทรม การเคลื่อนไหวกล้องและทิศทาง บรรยากาศหนังที่ให้ความรู้สึก nostalgia ถึงความสูญเสีย ผมคิดว่าคนเยอรมันดูหนังของเขาจะรู้สึกหดหู่ เพราะมันคือภาพความเสื่อมโทรม(จากการแพ้สงคราม)ของประเทศตัวเอง คนดูชาติอื่นๆจะรู้สึกอึดอัด ราวกับ ณ ขณะสิ้นสุดของโลก (At The End of the World) เทคนิคการถ่ายภาพแบบนี้น่าจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Wim Wenders โดยเฉพาะเลยนะครับ

ทีมเขียนบทประกอบด้วย Wim Wenders, Peter Handke และ Richard Reitinger แนวคิดของหนังเห็นว่า Wenders ได้ความประทับใจมาจากบทกวีของ Rainer Maria (กวีชื่อดังของเยอรมัน) ที่บรรยายได้เหมือนเหล่าทวยเทพเทวดาอาศัยอยู่ในบทกวี (angels seemed to dwell in Rilke’s poetry which gave the film a sort of magical and hypnotic spell.) Wender พยายามเขียนบทหนังให้ได้ใจความน้อยที่สุด มีแค่โครงเรื่องและบรรยากาศหนังเท่านั้น มอบหมายให้ Handke เขียนคำบรรยายและบทพูด ถ้าใครได้ดูเวอร์ชั่นที่ subtitle แปลดีๆ จะรู้ว่าประโยคพูดในหนังจะมีสัมผัสและคล้องจองเหมือนบทกลอนมากๆ ถ้าคุณเข้าใจภาษาเยอรมันได้ย่อมจะได้รับอรรถรสทางภาษาที่เต็มอิ่มแน่ๆ เพราะ Handke เป็นนักเขียนกวีชื่อดังคนหนึ่งของเยอรมัน

ทวยเทพ 2 ตัวละครหลัก นำแสดงโด Bruno Ganz รับบท Damiel เทวดาที่อยากเกิดไปเกิดเป็นมนุษย์ และ Otto Sander รับบท Cassiel เพื่อนเทวดาที่รู้จักกันมานาน ในหนังเรื่องนี้หน้าที่ของเหล่าทวยเทว (guardian angels) คือรับฟังความคิดของมนุษย์ บางครั้งก็กระซิบให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ แต่พวกเขาจะไม่เข้าไปสร้างหรือเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขามาจากไหน รู้แค่ว่าพวกเขามีตัวตนมาตั้งแต่ก่อนจะมีมนุษย์จะเกิดขึ้นบนโลกเสียอีก เด็กๆสามารถมองเห็น รับรู้การมีตัวตนของพวกเขาได้ (เพราะยังมีความบริสุทธิ์ในจิตใจ) ส่วนผู้ใหญ่ก็จะมองไม่เห็นแล้ว คนส่วนใหญ่เชื่อว่าพวกเขาไม่มีจริง มีไม่กี่คนเท่านั้นที่ถึงไม่เห็นแต่รู้ว่ามีอยู่

ช่วง 10 นาทีแรก ผมไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นนะครับ เพราะหนังไม่อธิบายอะไรเราเลย อยู่ดีๆก็เริ่มเลย แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย แต่เราจะค่อยๆซึมซับและทำความเข้าใจจากการกระทำเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านไปสักครึ่งชั่วโมงก็จะเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ (ที่ผมเล่าให้ฟังย่อหน้าที่แล้ว) ผมเชื่อว่าถึงคุณจะไม่ใช่นักดูนักมืออาชีพ ก็สามารถเข้าใจวิธีการเล่าเรื่องจากเทคนิคต่างๆที่หนังใช้ได้ เช่น ตัวละครพูดขึ้นโดยไม่ขยับปาก นี่แสดงถึง เขากำลังคิดอยู่ แต่ที่ได้ยินเสียงเพราะมีเทวดาพวกนี้เป็นสื่อที่สามารถอ่านใจพวกเขาได้, กล้องที่ถ่ายภาพสูง เคลื่อนไหวราวกับนกที่บินอยู่บนท้องฟ้า, ตัวละครที่ยืนอยู่แต่กลับไม่มีคนเห็น … เทคนิคเหล่านี้ไม่ยากเกินเข้าใจแน่นอน อาศัยการสังเกตนิดหน่อยก็จะไขปริศนาได้กระจ่าง

ไฮไลท์ของหนังอยู่ช่วงครึ่งหลัง มันจะมีแวบๆช่วงครึ่งแรกอยู่บ้างที่ผมถึงกับขยี้ตา เห็นสีผิดไปหรือเปล่า ทำไมอยู่ดีๆภาพขาว-ดำกลายเป็นภาพสี เห็นสักสองสามครั้งก็ชัวร์แล้วว่าไม่ได้ตาฝาด ผู้กำกับภาพ Henri Alekan ตอนเขาทำหนังเรื่องนี้อายุปาเข้าไป 70 แล้ว ผมเคยชมเขาอย่างออกนอกหน้าตอน La Belle et la Bête (1946) เป็นผู้กำกับภาพที่เล่นกับแสงและเงาได้อย่างยอดเยี่ยม มากับเรื่องนี้ เขาเล่นระหว่างภาพขาว-ดำ กับภาพสี สลับไปมาอย่างสวยงามมากๆ ซีนไหนที่เป็นมุมมองของเทวดา จะเป็นภาพสีขาว-ดำ แต่ถ้าเป็นมุมมองของมนุษย์จะกลายเป็นภาพสี เทคนิคนี้ไม่ใช่ของใหม่ A Matter of Life and Death (1946) ของ Michael Powell กับ Emeric Pressburger ก็เคยใช้เทคนิคนี้มาก่อน สำหรับความหมายที่ทำแบบนี้ เพราะต้องการบอกว่า ความอมตะของเทวดา มันทำให้พวกเขาขาดอารมณ์ ความรู้สึกและสีสัน ไม่สวยงามเหมือนกับมุมมองของมนุษย์ ที่มีเกิดแก่ เจ็บตาย มีความรัก ความต้องการ มีสุขทุกข์ สีสันที่สวยสดงดงาม

Solveig Dommartin นักแสดงนำหญิง รับบท Marion ตัวแทนความ Desire ของพระเจ้า ผมรู้สึกว่าเธอสวยมากๆตอนที่ภาพหนังเป็นขาว-ดำ แต่พอเป็นภาพสีแล้ว ไม่สวยเท่าไหร่เลย เธอเป็นคนมีตำหนินะครับ อาจเพราะทรงผมที่ไว้หยักฟูสีบลอนด์ แทนความวุ่นวายในชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจ เธอต้องการความรักที่แปลกมาก ไม่รู้ว่าไปตกหลุมรัก Damiel ได้ยังไง (สงสัยจะอยู่ในฝัน) ฉากที่เธอเจอกับ Damiel ในบาร์ฉากสุดท้าย เธอใส่ชุดสีแดง ทาปากแดงจัดเลย นี่ชัดเจนว่าเป็นสัญลักษณ์ของพรหมจรรย์และความบริสุทธิ์ ถึงเธอจะเอาแต่พูด แต่การแสดงออกของร่างกายมันล้ำไปไกลแล้ว รีบไปเปิดห้องได้แล้ว มัวแต่จะพูดยื้อยักอยู่ทำไม!

ฉากในห้องสมุด มีความหมายถึงเป็นสถานที่รวมซึ่งความรู้ (Knowledge) แขนงต่างๆ, นางเอกที่เป็นนักกายกรรมบนเส้นเชือก เธอต้องลอยตัวสูงขึ้นจากพื้น ม้วนไปมา แทนด้วยภาพของเทวดามีปีก ที่มักจะอยู่บนตึกสูงๆ มองลงมาข้างล่าง (มองลงมาจากสวรรค์) ตราสัญลักษณ์ของประเทศเยอรมันคือนกอินทรี Wings (ปีก) จึงอาจหมายถึง พระเจ้าหรือเยอรมันก็ได้ ส่วน Desire ความต้องการในบริบทหนังคือ ‘การมีชีวิต’ และชื่อหนังภาษาเยอรมัน Der Himmel über Berlin แปลว่า ท้องฟ้า/สวรรค์เหนือกรุงเบอร์ลิน (The Sky/Heaven Over Berlin) ก็คือภาพของหนังเรื่องนี้

ตัดต่อโดย Peter Przygodda ขาประจำของ Wenders หนังเรื่องนี้ถือว่ามีการตัดต่อที่โดดเด่นมากๆ ช่วงเปลี่ยนซีนมีการซ้อนภาพ เฟดภาพ ให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลและแนบเนียล ฉากการย้อนอดีต มี Flashback อยู่หลายฉาก ต้องสังเกตให้ดีจะได้ไม่สับสน (เพราะเทวดาหน้าตาเดิม แต่ตัวละครอื่นจะเด็กลง) การตัดต่อที่เด่นมากๆอยู่ครึ่งแรก มีการเล่าเรื่องไปเรื่อยๆ มันเหมือนว่าแต่ละเหตุการณ์ไม่ได้มีความต่อเนื่องกันเลย แต่หนังใช้เวลาเป็นตัวดำเนินเรื่อง คือ เวลาเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ เทวดาทั้งสองจะกระโดดไปโผล่ที่ไหนก็ได้ ได้ยินเสียงใครน่าสนใจก็พุ่งไปหายเลย ทุกเหตุการณ์จะมีจุดสัมผัสที่ต่อเนื่องกันอยู่ ผมว่าถ้า Wenders เก่งกว่านี้อีกสักนิด และเขาใช้ Long-Take แทนการตัดต่อละก็ เขาจะกลายเป็นอมตะไปเลยนะครับ แต่แค่นี้ก็ถือว่าสุดยอดมากๆแล้ว

ครึ่งหลังของหนังจะดูง่ายไปเลย ตัดสลับระหว่าง มุมมองของ Damiel (มนุษย์) กับ Cassiel (เทวดา) ตรงนี้จะเห็นชัด เพราะภาพมันคนละสีกันแล้ว

เพลงประกอบสุดประหลาด โดย Jürgen Knieper และ Laurent Petitgand บอกตามตรงผมไม่ค่อยชอบดนตรี Alternative Rock เสียเท่าไหร่ เนื้อหาเพลงอาจจะดีมากๆ ดนตรีก็อาจจะเพราะ แต่พอเอามาผสมกันแล้วมันไม่เข้ากันเลย วงดนตรีในหนังคือ Nick Cave and the Bad Seeds เคยทำเพลงประกอบให้กับ From Her to Eternity (1984)