เรื่องราวของหนูตัวน้อย “เรมี่” ที่มีพรสวรรค์ในด้านการดมกลิ่น และความคิดที่ไม่เหมือนหนูตัวอื่น เมื่อเขาใฝ่หาแต่อาหารดีๆ ขณะที่ตัวอื่นกลับกินแต่อาหารขยะ (เอ แขวะใครอยู่หรือเปล่าเนี่ย) มันมีความสามารถในด้านการปรุงอาหาร และฝันอยากเป็นพ่อครัว
เมื่อชีวิตผกผันพลัดหลงกับบ้านของตัวเอง ญาติพี่น้องของตัวเอง มาอยู่ในปารีส เมืองใหญ่ที่มีร้านอาหารหรูและอร่อยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มันก็ได้พบกับ “ลิงกวินี่” เด็กหนุ่มผู้เป็นลูกชายของภรรยาของเจ้าของร้านอาหารชื่อดัง (เขาคือ ออกัส กุสโต้ เป็นพ่อครัวที่เขานับถือเป็นฮีโร่ ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว) เด็กชายที่ดูแสนจะธรรมดา เขาเข้ามาทำงานในฐานะเด็กเก็บขยะ
ด้วยความผิดพลาดทางเทคนิค ลิงกวินี่และเรมีก็ได้รู้จักกัน แล้วรับรู้ว่าเรมี่สื่อสารกับเขาได้ แถมปรุงอาหารเก่งสุดยอด แต่หนูกับห้องครัวของร้านอาหารชื่อดัง เป็นสิ่งที่ไม่เข้ากันอย่างยิ่ง
เรมี่ต้องใช้พรสวรรค์ที่มีสร้างสรรค์อาหารรสเลิศผ่านทางลิงกวินี่ แต่ว่า ทุกอย่างมันดูไม่ง่ายเลย เมื่อดูเหมือนจะมีอุปสรรครอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น การจ้องจับผิดจากนักวิจารณ์ ครอบครัวที่ตามมาเจอกันจนได้ การเก็บความลับเรื่องหนูเข้ามาในร้าน รวมทั้งปัญหาเรื่องความเป็นเจ้าของร้านอาหาร
………………….
อนิเมชั่นเรื่องนี้ถูกสอดแทรกไปด้วยมุกน่ารักๆ ซึ่งน่าจะถูกใจเด็ก หรือผู้ใหญ่ใจเด็กได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงภาพที่เคลื่อนไหวอย่างเนียน เนียนกว่าเรื่องไหนๆ ที่ดูมา งานฉากที่ละเอียดลออ และดนตรีประกอบที่อลังการและเข้ากับภาพเป็นอย่างดี
แต่โดยรวม กลับพบว่า มันเป็นอนิเมชั่นที่ดูสนุกน้อยกว่าเรื่องที่ผ่านๆ มาของ Pixar หนึ่ง คือ มันมีเนื้อหาที่หนัก มีหลายปมไปนิดนึง มีความเป็นดรามามากกว่าเรื่องอื่นๆ คนที่คิดจะสนุกสนานกับการนั่งดูเรื่องราวมันเดินไปจนจบ อาจจะรู้สึกเครียดๆ บางเวลา อ้าปากหาวกันบ้างครั้งสองครั้ง
แต่คงไม่ปฏิเสธว่่า มันยังคงเป็นอนิเมชั่นที่ดีอยู่
ด้วยนอกจากความเนียนในงานภาพแล้ว บทก็ยังคงทำได้ดีมากๆ อีกด้วย Anyone can cook! คำพูดของกุสโต้ ไม่ใช่ว่าใครก็เป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้ แต่ผู้ยิ่งใหญ่มาได้จากทุกๆ ที่ ผมเองจับใจคำพูดของ Ego นักวิจารณ์ผู้ทรงอิทธิพลในตอนท้ายของเรื่องมากๆ
In many ways, the work of a critic is easy. We risk very little yet enjoy a position over those who offer up their work and their selves to our judgment. We thrive on negative criticism, which is fun to write and to read. But the bitter truth we critics must face is that, in the grand scheme of things, the average piece of junk is more meaningful than our criticism designating it so. But there are times when a critic truly risks something, and that is in the discovery and defense of the new. Last night, I experienced something new, an extraordinary meal from a singularly unexpected source. To say that both the meal and its maker have challenged my preconceptions is a gross understatement. They have rocked me to my core. In the past, I have made no secret of my disdain for Chef Gusteau’s famous motto: Anyone can cook. But I realize that only now do I truly understand what he meant. Not everyone can become a great artist, but a great artist can come from anywhere. It is difficult to imagine more humble origins than those of the genius now cooking at Gusteau’s, who is, in this critic’s opinion, nothing less than the finest chef in France. I will be returning to Gusteau’s soon, hungry for more.
โดนจริง