หมวดหมู่ : หนังแอคชั่น , หนังตลก , หนังดราม่า
เรื่องย่อ : The Mighty Ducks 3D ขบวนการหัวใจตะนอย ภาค 3 (1996) พากย์ไทย บรรยายไทย
ชื่อภาพยนตร์: The Mighty Ducks 3D ขบวนการหัวใจตะนอย ภาค 3
ผู้กำกับภาพยนตร์: โรเบิร์ต ลีเบอร์แมน
ผู้เขียนบทภาพยนตร์: Steven Brill (ตัวละคร), Kenneth Johnson (เรื่อง)
นักแสดง: เอมิลิโอ เอสเตเวซ , เจฟฟรีย์ นอร์ดลิง , เดวิด เซลบี
แนว/ประเภท: แอ็คชั่น , ตลก , ดราม่า
ความยาว: 1 ชม. 44 นาที
วันเข้าฉาย: 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (สหรัฐอเมริกา)
พบกับซีรีย์ฝรั่ง The Mighty Ducks ที่เล่าเรื่องราวของทนายหนุ่มไฟแรง ที่ชอบชนะคดีโดยไม่เกี่ยงวิธี (ว่าง่ายๆ คือพร้อมโกงเสมอ) กอร์ดอน บอมเบย์ (แสดงโดย Emilio Estevez) ชีวิตของเขาพลิกผันเพียงเพราะเมาแล้วขับ ทำให้กอร์ดอนต้องมาทำงานรับใช้สังคม และด้วยความสามารถในการเล่นฮอคกี้ในวัยเด็ก ทำให้เขาได้มาเป็นโค้ชให้กับทีมเยาวชน เขต 5 ซึ่งเป็นทีมที่รวมเอาเด็กแสบๆ ไว้ด้วยกัน ที่สำคัญฝีมือฮอคกี้ของทีมนี้ยังเข้าขั้นห่วย (มั๊ง) ทั้งแก่น ทะเล้น และที่สำคัญคือไม่เคยชนะฮ็อคกี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว เพื่อให้งานนี้จบๆ ไป ตอนแรกกอร์ดอนก็ทำหน้าที่แบบเสียมิได้ เข้ามาคุมทีมแบบขอไปที เพราะจริงๆ แล้วเขาเคยมีอดีตฝังใจกับฮ็อคกี้ ในสมัยเด็กนั้นเขาเป็นตัวเต็ง เก่งมากๆ แต่ในการแข่งนัดสำคัญเขายิงประตูพลาด ส่งผลให้ทีมต้องพ่ายแพ้ และในปีนั้นพ่อของเขายังมาจากไปอีก มันเลยกลายเป็นแผลฝังใจมาโดยตลอด แล้วก็เหมือนชะตากรรมเล่นตลกกับกอร์ดอน เพราะทีมเขต 5 ของเขาต้องเจอกับทีมฮอว์ค ทีมที่เขาสังกัดในวัยเด็ก และลิ้มรสความพ่ายแพ้นั่นเอง และด้วยความใจสู้ของเด็กๆ ทีมเขต 5 ทำให้กอร์ดอนกลับมาตั้งใจ เพื่อเอาชนะทีมฮอล์ค และนำทีมขี้แพ้ไปสู่ตำแหน่งชนะเลิศให้ได้ ในนามทีม
IMDB : tt0116000
คะแนน : 5.5
รับชม : 723 ครั้ง
เล่น : 156 ครั้ง
แรกเริ่มเดิมทีนี่คือ The Mighty Ducks ภาคที่ผมชอบน้อยที่สุด
ผมดูภาคนี้เป็นครั้งแรกเมื่อหลายสิบปีก่อน ตอนนั้นยังอยู่ในวัยเรียนและผมก็ชอบหนังโทนสนุกๆ แบบ 2 ภาคแรกอย่างมาก และแน่นอนครับว่าพอมีภาค 3 ตามออกมา ผมก็หมายมั่นจะดูเพื่อความบันเทิงอีกครั้งครา
แต่แล้วโทนของภาคนี้กลับดูจริงจัง ดูเคร่งขรึมกดดันโดยเฉพาะในครึ่งแรก ที่แทบไม่มีอารมณ์ขันสนุกๆ แบบ 2 ภาคก่อน อีกทั้งบทของโค้ชกอร์ดอน บอมเบย์ (Emilio Estevez) ตัวเอกจากภาคที่แล้วๆ กลับดูลดทอนจนปรากฏตัวจริงๆ รวมกันไม่ถึง 10 นาทีด้วยซ้ำ
เรื่องราวมันต่อเนื่องจากภาคก่อนครับ เมื่อทีมฮ็อคกี้ “เดอะ ดั๊กส์” ที่นำโดย ชาร์ลี คอนเวย์ (Joshua Jackson) ได้รับทุนการศึกษาจากสถาบันอีเดน ฮอลล์ (ด้วยแรงสนับสนุนจากบอมเบย์ที่จบการศึกษามาจากที่นี่เหมือนกัน) ซึ่งพวกเขาก็มีหน้าที่เรียนให้ดีและยังเป็นทีมฮ็อคกี้น้องใหม่ประจำสถาบัน อันนำมาสู่อีกหน้าที่ที่สำคัญ นั่นคือ การนำชัยชนะในเกมฮ็อคกี้มาสู่โรงเรียนให้จงได้
แต่ทุกอย่างกลับไม่ง่ายอย่างที่คิดเมื่อทีมฮ็อคกี้รุ่นพี่พากันเขม่นพวกเขาตั้งแต่เริ่มแรก ไหนจะโค้ชคนใหม่ที่ดูเคร่งขรึม ดุดันจริงจัง นามว่า เท็ด โอไรออน (Jeffrey Nordling) ที่ทำให้พวกดั๊กส์รู้สึกไม่กินเส้นกับโค้ชคนนี้เท่าไร
แต่ปัญหาสำคัญคือ หากทีมดั๊กส์ไม่สามารถนำชัยชนะมาสู่สถาบันได้แล้วล่ะก็ พวกเขาทั้งหมดอาจถูกระงับทุนการศึกษาในทันทีก็ได้
เป็นไงครับ เนื้อเรื่องดูจริงจังใช้ได้นะฮะ ตอนนั้ก็เข้าใจตัวเองเหมือนกันที่จะรู้สึกธรรมดา ค่อนไปทางเฉยๆ กับภาคนี้ เพราะ 2 ภาคแรกมันสนุก ลื่นไหล และฮากว่ากันเยอะ
… แต่ทว่า… การดูครั้งล่าสุดของผม กลับรู้สึกเปลี่ยนไปครับ
ไม่รู้เพราะเราโตแล้วหรือเปล่า เราถึงรู้สึกว่าภาคนี้มันมีอะไรน่าสนใจ แต่ต้องคิดและต้องย่อยสาระบนแผ่นฟิล์มกันสักหน่อย
ผมว่าภาคนี้คือการดำเนินเรื่องราวบทต่อมาแบบดึงทีมดั๊กส์ลงมาสู่โลกแห่งความจริงอีกครั้ง หลังจากภาคที่แล้วเหมือนจะออกแนวเบาๆ บางทีก็เกินจริงไปบ้างเพื่อความสนุก และพอดีว่าโลกแห่งความจริง บางครั้งมันก็ไม่ได้สวยงาม ไม่ได้บันเทิง และไม่มีอะไรเป็นอย่างใจเราเสียทุกอย่าง
ดังนั้นหากเรามองหนังภาคนี้ด้วยสายตาที่หวังความสนุกโปกฮาและบันเทิงแบบเบาๆ สไตล์หนังดิสนี่ย์อย่าง 2 ภาคแรก ก็อาจรู้สึกว่าภาค 3 เหมือนคนแปลกหน้า ไม่ใช่ The Mighty Ducks ที่คุ้นเคย
แต่ขณะเดียวกันถ้าเราปรับใจและมองอีกมุม ก็จะพบว่าภาคนี้คือเรื่องของของทีมดั๊กส์ที่เติบโตขึ้น เผชิญโลกของจริงที่ไม่ได้โรยด้วยกลืบกุหลาบ มันมีได้ทั้งสมหวังและผิดหวัง สมประสงค์และไม่ได้ดั่งใจ มีทั้งคนดีและไม่ดี
ความรู้สึกของคนดูที่สัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจไม่ต่างจากที่ชาร์ลีรู้สึกครับ เพราะเขาก็เจออะไรแบบนั้นเหมือนกัน เริ่มจากการที่ไม่มีโค้ชบอมเบย์มาคอยเทรนให้ เพราะบอมเบย์ต้องไปคุมทีมอื่นๆ อีกตามหน้าที่ ต่อมาชาร์ลีก็พบว่าสถาบันแห่งนี้มันมีกฎเยอะแยะที่น่าเบื่อ รุ่นพี่ทีมฮ็อคกี้ก็ไม่เป็นมิตรเลย โค้ชคนใหม่ก็หน้านิ่วไม่ยอมมาสนุกอะไรกับพวกเขาด้วยเลย เรียกว่าชาร์ลีและทีมต้องก้าวเข้าสู่โลกของผู้ใหญ่แบบเต็มตัว โดยที่พวกเขายังรักจะใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานอยู่
ที่หนักคือถึงขนาดว่ามีคนอีกมากมายที่ไม่รู้จักทีมเดอะดั๊กส์ของพวกเขา ทั้งที่พวกเขานึกว่าตัวเองโด่งดังอย่างมากแล้วแท้ๆ
เมื่อเจอสิ่งเหล่านี้ชาร์ลีเลยพลอยแอนตี้ทุกสิ่ง ยิ่งเขาเข้าช่วงวัยรุ่นก็ยิ่งมีอารมณ์ที่พลุ่งพล่านเข้ามาเจอปน ทั้งหงุดหงิดง่ายและใช้โทสะนำทาง
พอความอัดอั้นมากเข้าเขาก็ไปปรึกษากับฮานส์ (Joss Ackland) เพื่อนสูงอายุที่แสนดี ชาร์ลีเล่าให้ฮานส์ฟังว่าโค้ชโอไรออนช่างเผด็จการ นัก ชอบปิดกั้น และไม่ยอมเปิดใจรับอะไรใหม่ๆ เลยแม้แต่น้อย
ในตอนนั้นเองฮานส์ถามกลับไปว่า “แล้วเธอล่ะชาร์ลี เธอยอมรับอะไรใหม่ๆ หรือเปล่า เธอปิดกั้นหรือเปล่า?”
แน่นอนว่าชาร์ลีไม่เข้าใจมันนัก และคิดว่าฮานส์ไม่เข้าใจเขาเลย แต่เราๆ นั้นน่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก
ในความจริงชาร์ลีก็ปิดกั้นไม่น้อยไปกว่ากัน แต่บางครั้งตัวเราเองก็มักจะชอบเข้าข้างตนและลืมวิพากษ์ใครต่อใครและสิ่งต่างๆ ให้ครบมุม
อย่างโค้ชโอไรออนนั้น จริงๆ แล้วคำสอนของเขามีสาระมากนะครับ บางอันก็ลึกซึ้งมาก และไม่ได้สื่อความเพื่อสอนแค่วิชาฮ็อคกี้นะครับ บางคำสอนนี่เป็นปรัชญาชีวิตดีๆ นี่เอง เช่น
ถ้าเธออยากได้ไข่ห่าน ก็ต้องตื่นก่อนห่าน
ผมอยากให้ทีมแพ้มากกว่าจะแค่เสมอ เพราะความพ่ายแพ้มันสอนอะไรได้มากกว่า
เราฟังเราอาจเข้าใจ แต่กับเด็กๆ บางคนหรือแม้แต่ผู้ใหญ่บางท่านก็ตาม อาจไม่เข้าใจหรือไม่ตระหนักถึงคุณค่าแห่งคำสอนเหล่านี้
แบบนี้ลองว่าชาร์ลีและพรรคพวกคาดหวังความสนุก ไม่ได้อยากได้คำสอนจริงจัง และโค้ชโอไรออนก็เอาแต่สอนแบบหนักๆ จริงจังๆ ตามสไตล์โลกของผู้ใหญ่ เลยทำให้สองฝ่ายคอยแต่จะหันหลังให้กัน
แต่ถ้าต่างฝ่ายต่างปรับเข้าหากันล่ะ? ผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปิดใจเรียนรู้กันและกัน มันจะให้ผลเป็นเช่นไร… และนั่นคือสิ่งที่หนังนำเสนอผลลัพธ์ที่ว่า ในช่วงครึ่งหลัง
พอดูแล้วคิดแบบนี้ ทำให้จากเดิมที่ชอบภาคนี้น้อยที่สุดกลายเป็นตีตื้น ชอบภาคนี้มากพอๆ กับ 2 ภาคแรก แต่ดีกรีความชอบในใจผมอาจยังน้อยกว่า 2 ภาคแรกอยู่นิดๆ
ประเด็นต่อมาที่เคยทำให้ผมชอบหนังภาคนี้น้อยก็เพราะบทบาทของโค้ชกอร์ดอน บอมเบย์มันน้อยเกินไป แต่พอมาดูอีกทีในครั้งใหม่นี้ ก็คิดว่าจริงๆ แล้ว การลดบทกอร์ดอนลงแล้วหันมาจดจ่ออยู่กับทีมดั๊กส์ ก็ถือเป็นการสานเรื่องราวที่เหมาะสมไม่น้อย
เหตุผลหลักที่ Estevez แสดงน้อยก็เพราะเขาไม่ได้อยากกลับมาเล่นหรอกครับ เขาคิดว่าหนังมี 2 ภาคก็พอแล้ว แต่เหตุผลสำคัญคือเงินครับ ตอนนั้นเขาอยากทำหนังชีวิตขึ้นมาเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า The War at Home แต่ทุนสร้างมีจำกัดมาก เขาเลยตกลงกับดิสนี่ย์ว่าจะยอมกลับมาเล่น แต่ขอบทน้อยๆ และขอเงินค่าตอบแทนเป็นจำนวน 3 ล้านเหรียญเพื่อเอาไปต่อทุนทำหนังให้สำเร็จ ซึ่งทางนั้นก็ตอบตกลงไป ทำให้เขาได้ทำหนังสมความตั้งใจที่สุด และเขาก็ยอมกลับมาเล่นให้ในฉากที่มีความสำคัญ
กลับมาที่เรื่องหนังต่อนะครับ ผมว่านี่เป็นหนังที่เด็กวัยรุ่นควรดู ไม่ใช่แค่ภาคเดียวนะครับ แต่หมายรวมถึงทุกภาค มันมีอะไรสอนเราได้มากจริงๆ ไม่ว่าจะชีวิต ความเปลี่ยนแปลงในแต่ละจังหวะ และหัวใจที่แท้จริงของกีฬา
หนังยังไม่ลืมที่จะสอนสิ่งที่วัยรุ่นทุกคนควรตระหนัก นั่นคือเรื่องของการควบคุมอารมณ์ตนเอง ไม่ให้ทำอะไรที่เกินไป ไม่ใช่พร้อมจะระบายโทสะทุกเมื่อที่ทำได้ แต่เราควรเป็นนายมัน
สาระสำคัญนี้ถูกสื่อผ่านตัวชาร์ลีนั่นล่ะครับ หลังจากเขาถูกขัดใจ ก็จะฟาดงวงฟาดงา และเจ้าอารมณ์อย่างแรง ทำให้โค้ชถอดเขาออกจากการเป็นกัปตัน ซึ่งชาร์ลีก็มองว่ามันไม่เป็นธรรม แต่สำหรับโค้ชแล้วเขาจำเป็นต้องทำ เพราะชาร์ลีคือหัวหน้าครับ หากเขาเอาแต่เกเรไม่ฟังใครแบบนี้ เขาย่อมไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ และหายนะที่ใหญ่มากๆ ก็จะมาสู่ทีม
ถ้าไม่รู้จักคุมตน อย่าว่าแต่เป็นผู้นำใคร เพียงตำแหน่ง “ผู้นำชีวิตตนเอง” ก็ยังไม่แน่ว่าจะรักษาการณ์ได้แบบตลอดรอดฝั่ง
แต่แม้โค้ชโอไรออนจะปลดเขาออก เขาก็ยังเดินหน้าสอนชาร์ลีและพวกอย่างช้าๆ ให้ทุกคนมองจุดอ่อนของตนเองหรือทีมเห็น แล้วก็ค่อยๆ ละเลียดกันไป ที่ให้สอนช้าๆ ก็เพื่อปรับวิธีการสอนของตนเองให้เข้าถึงเด็กๆ กลุ่มนี้ให้สำเร็จ ซึ่งก็พอดีครับที่กลุ่มเดอะ ดั๊กส์ก็ค่อยๆ ปรับตัวเข้าหาโค้ชเหมือนกัน โดยได้ความช่วยเหลือจากบอมเบย์และฮานส์ผู้แสนจะน่ารัก
ความสุขประการหนึ่งของการได้ดูหนังภาคนี้ก็คือ เราได้เห็นเด็กๆ ทีมดั๊กส์ที่เราคุ้นมาตั้งแต่ภาคแรกเติบใหญ่ขึ้น ผ่านการขัดเกลาจากสารพัดเรื่อง และในภาคนี้เราก็จะได้เห็นว่าพวกเขาค่อยๆ มีพัฒนาการในแง่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
ผมชอบที่กอร์ดอนพูดว่า “เธอ (ชาร์ลี) คือปาฏิหาริย์แห่งมินนิโซตาที่แท้จริง” เพราะ 2 ภาคแรกแม้ชาร์ลีจะไม่ใช่ตัวนำ แต่เขาก็มีส่วนในการพัฒนาทีมและยังเป็นคนที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับกอร์ดอน บางทีจุดประกายไอเดียให้ก็มีครับ
ดังนั้นฉายา “ปาฏิหาริย์แห่งมินนิโซตา” อันนี้ก็ควรมอบให้กับชาร์ลีด้วยเหมือนกัน
ถ้าถามว่าหนังสนุกไหม หากให้ตอบตรงๆ ก็คงต้องบอกว่า ครึ่งแรกอยากให้ทำใจสักหน่อย มันอาจไม่ขำ จริงจัง และเราอาจเกิดอารมณ์หงุดหงิดรำคาญบางสิ่ง เหมือนชาร์ลีในเรื่อง แต่พอเราปรับตัวได้ (ประมาณซักครึ่งเรื่อง) เราก็จะเริ่มสนุกและกลับมาเอาใจช่วยทีมดั๊กส์ให้กู้ศักดิ์ศรีของตนเองอีกครั้ง
ดาราในเรื่องนั้นจริงๆ กลับมาเยอะนะครับ นอกจาก Estevez แล้วก็ยังมี Ackland , Elden Henson ก็กลับมารับบท ฟูลตัน รี๊ด มือตีพลังช้างสาร, Shaun Weiss เป็นโกลด์เบิร์ก ประตูอ้วนดำ, Vincent Larusso ในบท อดัม แบงค์ส ที่มักจะโดนอีกทีมดึงตัวไปเสมอ, Matt Doherty ในบทเลสเตอร์ สี่ตาจอมพล่าม, Garette Ratliff Henson กับบท กาย เจอร์เมน ตัวละครในทีมดั๊กส์ที่เล่นทุกภาค แต่ไม่เด่นสักภาค, Marguerite Moreau ในบทคอนนี่ สาวแกร่งอีกคนของทีม และอีกหนึ่งตัวละครจากภาคก่อนที่กลับมาเซอร์ไพร์สในตอนท้าย อันนี้ไม่บอกแล้วกันนะครับ แต่พี่แกทำให้หนังสนุกและฮาขึ้นเยอะจริงๆ
ยังมี Kenan Thompson กลับมารับบทรัส ไทเลอร์ ที่มาเมื่อภาคที่แล้ว เจ้าของท่าตีทะลวงโกล ที่ทำให้โกลมึนทุกรอบ, Mike Vitar ในบทหลุยส์ แมนโดซ่า จอมสเก็ตซ์เบรคแตก, Colombe Jacobsen-Derstine กับบทจูลี่ แคฟนี่ย์ โกลสาวตัวสำรอง และ Justin Wong ในบท เคน วู ทีมดั๊กส์ชาวเอเชียจาภภาคที่แล้ว และเรายังได้เจอ Heidi Kling กลับมารับบทแม่ของชาร์ลีอีกครั้ง แต่บทก็น้อยกว่าบอมเบย์อีกครับ
โดยสรุปแล้ว อย่าคาดหวังมากกับภาคนี้ครับ จริงๆ มันก็ดูได้เพลินๆ และสนุกไม่ใช่เล่น