ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

Krabi, 2562 กระบี่ ๒๕๖๒ (2019) [ พากย์ไทย ]

Krabi, 2562 กระบี่ ๒๕๖๒ (2019)  [ พากย์ไทย ] เต็มเรื่อง
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังสารคดี , หนังไทย

เรื่องย่อ : Krabi, 2562 กระบี่ ๒๕๖๒ (2019) [ พากย์ไทย ]

ชื่อภาพยนตร์ : Krabi, 2562 กระบี่ ๒๕๖๒
แนว/ประเภท : Documentary
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Ben Rivers,  Anocha Suwichakornpong
บทภาพยนตร์ : -
นักแสดง : Arak Amornsupasiri,  Nuttawat Attasawat,  Oliver Laxe
วันที่ออกฉาย : 29 May 2020

 

 

    Krabi, 2562 เป็นผลงานกำกับร่วมของ อโนชา สุวิชากรพงศ์​   จากประเทศไทย และ เบน ริเวอร์ส (Ben Rivers) จากสหราชอาณาจักร สไตล์ทางภาพยนตร์ของทั้งคู่จุดมีร่วมกันตรงที่มันมักทดลองกับเส้นแบ่งขอบเขตระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่งอยู่เสมอ

    หนังพาเราไปสำรวจกระบี่ในปีพุทธศักราช 2562 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของผู้คนทั้งที่อาศัยอยู่ในกระบี่และผู้คนที่เดินทางเข้ามาเยือน รวมไปถึงความทรงจำและเรื่องเล่าต่างๆ ที่ผูกติดอยู่กับพื้นที่

    หนังฉายภาพของกระบี่ได้แสนแปลกตา เมืองที่ถือเป็นปลายทางของการท่องเที่ยวแห่งนี้ไม่ได้ถูกนำเสนอด้วยภาพขายฝันอย่างตื้นเขิน อีกทั้งไม่ได้มีสายตานิ่งเฉยเพื่อมอง ‘ความจริง’ อย่างทื่อมะลื่อ แต่กลับเต็มไปด้วยการเลี้ยวลดคดเคี้ยวในการพยายามจับจ้องความเป็นไปในกระบี่

    ท่ามกลางสายธารเรื่องเล่าทั้งจริงและแต่งในหนัง เราได้เห็นเรื่องของคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ปะทะและผสานกัน อาจเห็นคนในพื้นที่มานั่งเล่าเรื่องจริงในชีวิตของพวกเขาให้ฟัง แต่ในฉากถัดไป เรากลับเห็นพวกเขาปรากฏในฐานะหนึ่งในตัวละครที่หญิงสาวได้เดินทางผ่านไปพบ

 

ICA | Krabi, 2562

IMDB : tt10696320

คะแนน : 6.4

รับชม : 4093 ครั้ง

เล่น : 1029 ครั้ง



 
 
  • Krabi, 2562 เป็นผลงานกำกับร่วมของ อโนชา สุวิชากรพงศ์​ จากประเทศไทย และ เบน ริเวอร์ส (Ben Rivers) จากสหราชอาณาจักร สไตล์ทางภาพยนตร์ของทั้งคู่จุดมีร่วมกันตรงที่มันมักทดลองกับเส้นแบ่งขอบเขตระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่งอยู่เสมอ
  • หนังพาเราไปสำรวจกระบี่ในปีพุทธศักราช 2562 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของผู้คนทั้งที่อาศัยอยู่ในกระบี่และผู้คนที่เดินทางเข้ามาเยือน รวมไปถึงความทรงจำและเรื่องเล่าต่างๆ ที่ผูกติดอยู่กับพื้นที่
  • หนังฉายภาพของกระบี่ได้แสนแปลกตา เมืองที่ถือเป็นปลายทางของการท่องเที่ยวแห่งนี้ไม่ได้ถูกนำเสนอด้วยภาพขายฝันอย่างตื้นเขิน อีกทั้งไม่ได้มีสายตานิ่งเฉยเพื่อมอง ‘ความจริง’ อย่างทื่อมะลื่อ แต่กลับเต็มไปด้วยการเลี้ยวลดคดเคี้ยวในการพยายามจับจ้องความเป็นไปในกระบี่
  • ท่ามกลางสายธารเรื่องเล่าทั้งจริงและแต่งในหนัง เราได้เห็นเรื่องของคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ปะทะและผสานกัน อาจเห็นคนในพื้นที่มานั่งเล่าเรื่องจริงในชีวิตของพวกเขาให้ฟัง แต่ในฉากถัดไป เรากลับเห็นพวกเขาปรากฏในฐานะหนึ่งในตัวละครที่หญิงสาวได้เดินทางผ่านไปพบ
 
แม้ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าวันหนึ่งคนทำหนังจากต่างซีกโลกอย่าง อโนชา สุวิชากรพงศ์​ จากประเทศไทย และ เบน ริเวอร์ส (Ben Rivers) จากสหราชอาณาจักรจะโคจรมาร่วมงานกันได้ แต่ก็ใช่ว่าเป็นเรื่องประหลาดเกินจริงไปเสียทีเดียว ทั้งคู่ต่างเป็นคนทำหนังสายอาร์ตผู้เป็นที่ยอมรับและชื่นชมในแวดวงภาพยนตร์โลก อีกทั้งสไตล์ทางภาพยนตร์ของพวกเขาก็จุดมีร่วมกันตรงที่มันมักทดลองกับเส้นแบ่งขอบเขตระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่งอยู่เสมอ
ภาพยนตร์ของอโนชาอย่าง เจ้านกกระจอก (Mundane History, 2009) และ ดาวคะนอง (By the Time It Gets Dark, 2016) ล้วนเล่าเรื่องราวที่ทาบทับกับบริบททางประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทำให้ความจริงและเรื่องแต่งสะท้อนซึ่งกันและกันและเลื่อนไหลเข้าหากันอย่างน่าพิศวง ในขณะที่ริเวอร์สเองเคยทำหนังสารคดีตามติดชีวิตคนนอกขอบสังคมอย่าง Two Years at Sea (2011) รวมถึงหนังสารคดีที่ติดตามการสร้างของหนังฟิคชั่นอีกเรื่องก่อนที่ตัวมันเองจะผันกลายไปเป็นหนังฟิคชั่นสุดพิสดาร (ที่ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นอีกที) เสียเองอย่าง The Sky Trembles and the Earth Is Afraid and the Two Eyes Are Not Brothers (2015)
นั่นทำให้ไม่น่าแปลกใจที่ Krabi, 2562 โปรเจ็กต์หนังยาวที่ทั้งคู่กำกับร่วมกันเป็นหนังพันทางที่เรียกว่าเป็นสารคดีได้ไม่เต็มปาก และประหลาดเกินหนังฟิคชั่นทั่วไป
 
 
 
 
 
ตามสถานที่และเวลาที่ระบุอยู่ในชื่อของมัน หนังพาเราไปสำรวจกระบี่ในปีพุทธศักราช 2562 โดยริเวอร์สและอโนชาขยับขยายโปรเจ็กต์นี้ขึ้นมาหลังจากได้ร่วมทำงานวิดีโออินสตอลเลชั่นให้กับงาน Thailand Biennale มาก่อนในปี 2018 เพื่อขุดคุ้ยเรื่องราวในกระบี่ให้เต็มที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของผู้คนทั้งที่อาศัยอยู่ในกระบี่และผู้คนที่เดินทางเข้ามา รวมไปถึงความทรงจำและเรื่องเล่าต่างๆ ที่ผูกติดอยู่กับพื้นที่
*ต่อจากนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์*
หนังเริ่มต้นด้วยการเดินทางของหญิงสาวคนหนึ่ง (รับบทโดย นุ่น ศิรพันธ์ วัฒนจินดา) เราไม่รู้ว่าเธอเป็นใครและมาที่กระบี่ทำไม ตลอดทั้งเรื่อง ตัวตนและจุดประสงค์ของการเดินทางมากระบี่นั้นดูเหมือนจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในแต่ละสถานการณ์แต่เธอถูกถาม ตั้งแต่เป็นผู้รับหน้าที่หาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ให้กับกองถ่าย ไปจนเป็นลูกสาวผู้เดินทางมาตามรอยรักของพ่อแม่ในกระบี่
กระนั้น เรื่องราวของหญิงสาวก็ไม่ใช่เส้นทางเดียวที่หนังติดตาม เพราะยังมีผู้คนและเรื่องราวอีกมากมายที่ร่วมเดินขนานและพาดผ่านไปกับเส้นทางของเธอ ไม่ว่าจะเป็นกองถ่ายทำโฆษณาที่มาปักหลักที่กระบี่พร้อม เป้ อารักษ์ อมรศุภศิริ, นักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจที่นี่, เรื่องราวตำนานท้องถิ่น, เรื่องราวจากอดีตที่ผู้คนในพื้นที่พากันมานั่งบอกเล่า, งานศิลปะชิ้นที่ถูกห้ามฉายในพื้นที่ ไปจนถึงชีวิตมนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่ (เคย) อาศัยอยู่ในกระบี่จนภายหลังถูกนำมาปั้นเป็นจุดขายกระตุ้นการท่องเที่ยว
แม้ผู้เขียนจะไม่เคยเดินทางไปสัมผัสกระบี่ด้วยตนเอง แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าหนังฉายภาพของกระบี่ได้แสนแปลกตาและมีเอกลักษณ์เป็นพิเศษ เพราะเมืองที่ถือเป็นปลายทางของการท่องเที่ยวแห่งนี้ไม่ได้ถูกนำเสนอด้วยภาพขายฝันชวนถวิลหาอย่างตื้นเขิน อีกทั้งหนังเองก็ไม่ได้มีสายตานิ่งเฉยเพื่อมอง ‘ความจริง’ อย่างทื่อมะลื่อตรงไปตรงมา แต่กลับเต็มไปด้วยการเลี้ยวลดคดเคี้ยวในการพยายามจับจ้องความเป็นไปในกระบี่
อาจกล่าวได้ว่ามุมมองคนนอกของริเวอร์ส และมุมมองของอโนชาที่จะว่าเป็นคนในก็ไม่ใช่คนนอกก็ไม่เชิง (แม้จะเป็นคนไทยแต่เธอก็ไม่ใช่คนในพื้นที่อยู่ดี) ทำให้หนังจับจ้องทุกสิ่งอย่างระแวดระวังและใคร่ครวญครุ่นคิด ท่ามกลางสายธารหลากเรื่องเล่าทั้งจริงและแต่งในหนัง เราจึงได้เห็นเรื่องของคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ปะทะและผสานกัน ในฉากหนึ่งเราอาจเห็นคนในพื้นที่มานั่งเล่าเรื่องจริงในชีวิตของพวกเขาให้ฟัง —ไม่ว่าจะเป็นวันวานของอดีตนักมวยวัยชรา เรื่องผีของพนักงานโรงแรม ไปจนถึงโรงหนังในตัวเมืองที่เคยรุ่งเรืองในยุคก่อน— แต่ในฉากถัดไป เรากลับเห็นพวกเขาปรากฏในฐานะหนึ่งในตัวละครที่หญิงสาวได้เดินทางผ่านไปพบ
สำหรับกระบี่ ชีวิตของคนในดูจะต้องเผชิญกับการมาเยือนของคนนอกอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาพักผ่อนหย่อนใจ (หรือตามหาความหมายใดๆ ก็ตาม) หรือจะเป็นพลังทางการตลาดต่างๆ ที่เข้ามาฉวยใช้กระบี่ในฐานะพื้นที่ที่ทำการตลาดได้ (นอกจากจะมาถ่ายโฆษณาที่กระบี่ได้สวยๆ ยังลงมาสำรวจตลาดที่นี่ได้ด้วย — นั่นคือหากเราเชื่อคำพูดของตัวละครของนุ่น) แน่นอนว่าคนนอกเหล่านี้ไม่ได้เข้ามาใช้ผลประโยชน์จากกระบี่โดยที่คนในไม่ได้อะไรกลับไปเลย การท่องเที่ยวและการตลาดเองย่อมมีส่งผลดีในทางเศรษฐกิจของคนในพื้นที่ไม่มากก็น้อย 
 อาจกล่าวได้ว่าทั้งคนนอกและคนในต่างปรับตัวเข้าหากันในพื้นที่ของการท่องเที่ยว ร้านรวงต่างๆ คุ้นชินกับเหล่าคนแปลกหน้าหลากสัญชาติที่สัญจรผ่านมาเพียงไม่กี่วันก็ผ่านไป ไกด์สาวในหนังพร้อมนำนักท่องเที่ยวมากหน้าหลายตาไปเยี่ยมชมแลนด์มาร์คต่างๆ ของกระบี่พร้อมเล่าสารพัดเรื่องราวที่ผูกโยงมากับพื้นที่ ตั้งแต่ตำนานรักร้าวของหาดถ้ำพระนาง เกาะในจังหวัดใกล้เคียงที่เคยเป็นฉากหลังให้หนังเจมส์ บอนด์ ไปจนถึงงานศิลปะชิ้นหนึ่ง (กำเนิดหอยทากทอง ของ จุฬญาณนนท์ ศิริผล) ที่เคยถูกห้ามจัดแสดงในงานเบียนนาเล่ที่ถ้ำเขาขนาบ
การท่องเที่ยวจึงสร้างความคาดหวังบางอย่างที่คนในมีต่อคนนอกและคนนอกมีต่อคนใน ประเด็นที่น่าครุ่นคิด (และเป็นประเด็นที่ผู้กำกับอโนชาได้ยกขึ้นมาในช่วง Q&A หลังการฉายปฐมทัศน์ในไทยเมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมาด้วย) คือหากการท่องเที่ยวได้กลายมาเป็นหลักใหญ่ใจความของวิถีชีวิตในกระบี่ เส้นแบ่งของคนในและคนนอกนั้นอยู่ที่ตรงไหนกันแน่ ในเมื่อคนนอกที่เราเรียกกันว่า ‘นักท่องเที่ยว’ นั้นเป็นลักษณะของบุคคลที่มีอยู่ในพื้นที่อยู่ตลอด เราอาจคิดถึงนักท่องเที่ยวว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ‘คนท้องถิ่น’ ก็ได้ เพียงแต่พวกเขาเป็นคนท้องถิ่นที่สลับเปลี่ยนหมุนเวียนใบหน้าและอัตลักษณ์ไปเรื่อยๆ สถานะความเป็นคนนอก-คนใน นักท่องเที่ยว-คนท้องถิ่นนั้นทับซ้อนและพร่าเลือน ไม่ต่างจากตัวตนของหญิงสาวที่แม้แรกเริ่มเราเข้าใจแจ่มแจ้งว่าเป็นนักท่องเที่ยว แต่สุดท้ายเราไม่แน่ใจอีกต่อไปว่าเธอเป็นใคร เพราะหากเราเชื่อคำพูดเมื่อเธอเดินทางไปโรงหนังที่ปิดทำการไปแล้ว พ่อแม่ของเธอที่เคยมีความทรงจำดีๆ ที่นี่ก็ต้องเป็นคนกระบี่ นั่นแปลว่าตัวเธอเองก็็ด้วย (?)
เห็นได้ว่ากระบี่ที่อโนชาและริเวอร์สมองนั้นไม่ใช่แค่พื้นที่ทางกายภาพที่หยุดนิ่งอยู่เฉยๆ แต่ยังเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยการปะทะกันของปัจจัยต่างๆ ที่ล้วนพยายามช่วงชิงความหมาย ทั้งการยื้อยุดกันระหว่างคนในกับนอกพื้นที่ และนิยามความเป็นท้องถิ่นที่พร่าเลือนลงไป เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวโยงอยู่กับกระบี่ล้วนถูกหยิบฉวยไปใช้ต่างกัน เช่นที่ตำนานต่างๆ ถูกนำมาใช้เป็นจุดขายให้กับการท่องเที่ยว หรือตำนานที่ถูกศิลปินนำเอามาตีความและให้ความหมายใหม่นั้นถูกหักห้ามไปเพราะอาจปะทะกับการให้ความหมายของคนในพื้นที่ ขณะที่กระแสหรือพลังต่างๆ ก็เข้ามาพัวพันหรือจัดกระทำภายในพื้นที่อยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นกระแสการท่องเที่ยว กระแสการตลาด กระแสทางประวัติศาสตร์ หรือกระทั่งพลังอำนาจในการปกครองของรัฐ
ซากมนุษย์โบราณที่ถูกขุดค้นเจอในถ้ำแห่งหนึ่งของกระบี่นั้นทำให้ประวัติศาสตร์อีกชุดหนึ่งถูกชูขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในอัตลักษณ์จังหวัด และแน่นอนว่าย่อมถูกโอบอุ้มอย่างเป็นพิเศษโดยการท่องเที่ยว กระบี่จึงเป็นพื้นที่ที่รองรับประวัติศาสตร์หลากกระแส ทั้งประวัติศาสตร์ส่วนตัวของคนในท้องที่ ประวัติศาสตร์ของสถานที่ต่างๆ ทั่วกระบี่ ประวัติศาสตร์ของชาติ ไปจนถึงประวัติยุคก่อนประวัติศาสตร์ ขณะที่ฉากเด็กนักเรียนยืนเข้าแถวเคารพธงชาติ (รวมถึงเสียงเดินสวนสนามที่มีให้ได้ยินเรื่อยๆ ในหนัง) สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เข้มข้นด้วยวัฒธรรมและอำนาจของทหาร หลายๆ ฉากในหนังที่แสดงให้เห็นมนุษย์ยุคหิน (ที่ดูเหมือนจะอยู่ร่วมกับเส้นเรื่องในปัจจุบัน) ก็ฉายภาพการจินตนาการถึงประวัติศาสตร์ที่โบราณกว่าการกำเนิดของชาติ ชวนให้ครุ่นคิดถึงความจริงแท้และการให้คุณค่าของกระแสประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่พาดทับกันบนจังหวัดแห่งนี้
กระบี่ในปี 2562 มีอะไร? ด้วยการจับจ้องไปที่รอยต่อของการบรรจบและการซ้อนทับกันระหว่างความจริงกับเรื่องแต่ง ระหว่างคนในกับคนนอกพื้นที่ ระหว่างเรื่องราว ตำนาน และประวัติศาสตร์ชุดต่างๆ หนังมอบมุมมองและประสบการณ์อันน่าพิศวงมากกว่าคำตอบที่ชัดเจนต่อคำถามเบื้องต้น
ในฉากเล็กๆ ที่อาจไม่สลักสำคัญอะไรทว่าจับใจผู้เขียนมากที่สุดฉากหนึ่ง หนังจดจ้องไปที่จออันว่างเปล่าภายในโรงหนังร้าง ก่อนจะเราจะเห็นฝูงนกโบยบิน ทีแรกผู้เขียนเข้าใจว่ามันคือภาพที่กำลังฉายอยู่บนจอของโรงหนังอีกที ไม่นานจึงได้เห็นว่ามันคือนกที่มาทำรังและกำลังบินไปบินมาอยู่ในโรงต่างหาก… บางทีความจริงกับภาพยนตร์ก็อาจเป็นเช่นนี้ นอกจากสะท้อนความจริง ภาพยนตร์ยังมีศักยภาพในการสะท้อนและเชื่อมต่อภายในตัวมันเอง จนกระทั่งในที่สุดความจริง เงาสะท้อนของความจริง และหนังสามารถโบยบินและเชื่อมโยงเคลื่อนผ่านถึงกันได้อย่างน่าอัศจรรย์พันลึก