หมวดหมู่ : หนังแอคชั่น , หนังดราม่า , หนังประวัติศาสตร์
เรื่องย่อ : Greyhound เกรย์ฮาวด์ (2020) บรรยายไทย
ชื่อภาพยนตร์ : Greyhound เกรย์ฮาวด์ (2020)
แนว/ประเภท : Action, Drama, History
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Aaron Schneider
บทภาพยนตร์ : Tom Hanks, C.S. Forester
นักแสดง : Elisabeth Shue, Tom Hanks, Stephen Graham
วันที่ออกฉาย : 10 July 2020
Greyhound ว่าด้วยเรื่องราวในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ เออร์เนสต์ ครอส (ทอม แฮงส์) กัปตันเรือพิฆาต Greyhound จากกองทัพเรืออเมริกัน ได้รับคำสั่งให้ออกเดินทางเข้าสู่สมรภูมิกลางทะเลแอตแลนติก เพื่อเข้าต่อกรกับ Wolfpack กองทัพเรือดำน้ำสุดแกร่งของฝ่ายนาซีเยอรมนี
IMDB : tt6048922
คะแนน : 7.0
รับชม : 22725 ครั้ง
เล่น : 11607 ครั้ง
เป็นอีกหนึ่งหนังที่น่าสนใจมาก เพราะมีชื่อของดาราแม่เหล็กอย่าง ทอม แฮงค์ส และเป็นหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็โดนผลกระทบของโควิด-19 จากเดิมที่จะออกฉายเมื่อ 22 มีนาคม โซนี่พิกเจอร์ ประกาศว่าจะเลื่อนออกไปฉายปีหน้าเลย แต่ไป ๆ มา ๆ หนังก็ปล่อยสตรีมมิงทาง Apple TV ไปเมื่อ 10 กรกฎาคม ที่ผ่านมานี่เอง
Greyhound นับเป็นเรื่องที่ 2 ที่ทอม แฮงค์ส รับบทเป็นนายทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อจาก Saving Private Ryan (1997) และเป็นเรื่องที่ 2 ที่เขารับบทเป็นกัปตันเรือ ต่อจาก Captain Phillips (2013) แม้ว่าหนังจะเล่าเหตุการณ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สำหรับ Greyhound นั้น เพียงอิงเรื่องราวจากเหตุการณ์จริง แต่บุคคลต่าง ๆ ในเรื่องรวมถึงเรือรบ Greyhound ก็ถูกสมมติขึ้นเพราะว่าหนังดัดแปลงมาจากนิยาย The Good Sheperd ของ ซี.เอส. ฟอเรสเตอร์ ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1955 นู่น แต่ที่น่าสนใจก็คือเรื่องนี้ ทอม แฮงค์ส รับหน้าที่ดัดแปลงนิยายเป็นบทภาพยนตร์ด้วยตัวเอง นับเป็นหนังยาวเรื่องที่ 3 ที่เป็นฝีมือเขียนบทของเขา ต่อจาก Larry Crowne (2011) และ That Thing You Do (1996) นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมครับ สำหรับนักแสดงที่อยู่ในวงการมานานแล้วสั่งสมความสามารถในด้านต่าง ๆ มาพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาไม่ได้มีดีแค่ฝีมือการแสดงเท่านั้น
แม้ว่าเรา ๆ ต่างก็ดูหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 กันมาหลายสิบเรื่องแล้ว ล่าสุดก็เพิ่งได้ดู Midway กันไป แต่สำหรับ Greyhound ก็เลือกแง่มุมที่แตกต่างจากหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เคยผ่านตากันมา เพราะเลือกเล่าเรื่องจากมุมมองของกัปตันเรือพิฆาต ที่ได้รับมอบหมายให้คุ้มกันเรือขนส่งสินค้าจากอเมริกาไปอังกฤษ เป็นแง่มุมแปลกใหม่ที่ผมเชื่อว่าหลายคนน่าจะไม่รู้ว่ามีภารกิจแบบนี้ดำเนินอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย แต่ละเที่ยวกองเรือพิฆาตเหล่านี้ต้องทำหน้าที่คุ้มครองเรือพาณิชย์ครั้งละหลายสิบลำ
ความสนุกเและเข้มข้นของหนังอยู่ในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง ที่กองเรือพิฆาตนี้ต้องทำหน้าที่บอดี้การ์ดให้เรือพาณิชย์ระหว่างที่ลอยลำข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เพราะตอนที่ออกจากฝั่งอเมริกานั้นจะมีกองบินคุ้มกันบินมาส่ง แต่ฝูงบินก็บินห่างจากชายฝั่งได้ในระยะจำกัด ความมันส์มันเริ่มจากนาทีที่นักบินวิทยุมาบอกกัปตันเออร์เนสต์ เคราส์ ว่า “ผมมาส่งได้แค่นี้นะ ขอให้เดินทางโดยปลอดภัย”
กัปตัน เออร์เนสต์ เคราส์ รับหน้าที่กัปตันเรือครั้งแรกก็ได้รับภารกิจสุดท้าทายเลย เขารับหน้าที่กัปตันประจำเรือพิฆาต เกรย์ฮาวนด์ เป็นจ่าฝูงของกองเรือคุ้มกันที่ประกอบไปด้วยเรือพิฆาต แฮร์รี และ อีเกิล จากกองทัพเรืออังกฤษ และ ดิคกี เรือพิฆาตสัญชาตแคนาเดียน ทั้งหมดร่วมกันคุ้มกันเรือสินค้าไปส่งจนถึงท่าเรือลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ พอฝูงบินคุ้มกันคล้อยหลังไปไม่นาน เขาก็ต้องเผชิญหน้ากับ ฝูงเรือดำน้ำของเยอรมันที่ซุ่มโจมตีอยู่แล้ว ชื่อกองเรือว่า “หมาป่าสีเทา” เออร์เนสต์ เคราส์ ต้องบัญชาการทั้งเรือเกรย์ฮาวนด์ และเรืออื่นภายใต้บัญชาการเป็นเวลา 48 ชั่วโมง จนกว่าจะใกล้ชายฝั่งอังกฤษที่จะมีฝูงบินคุ้มกันจากอังกฤษมาต้อนรับ
ความแตกต่างของ Greyhound ก็คือเราเคยเห็นแต่หนังสงครามโลกครั้งที่ 2 บนบก แต่ไม่เคยเห็นหนังที่เล่าการสู้รบในท้องทะเลกันจริงจังแบบนี้มาก่อน แล้วสำคัญที่หนังได้ อารอน ชไนเดอร์ ผู้กำกับมือใหม่ที่เคยผ่านงานกำกับหนังมาแค่เรื่องเดียว Get Low (2009) แต่บทบาทจริงของเขาก็คือช่างถ่ายภาพยนตร์ ทำให้ Greyhound เป็นหนังสงครามที่ให้ความสำคัญกับงานภาพอย่างมาก เราได้เห็นภาพที่แปลกตาและน่าตื่นตาตื่นใจ ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของเรือพิฆาตที่พุ่งฝ่าคลื่น ได้เห็นภาพท้องทะเลจากมุมสูงขณะเรือรบกำลังโรมรันพันตูกัน ที่ประทับใจมากคือฉากเรือเกรย์ฮาวนด์หักหลบแบบฉิวเฉียดกับเรือโดยสารขนาดมหึมา หรือฉากกระหน่ำยิงแบบเผาขนกับเรือดำน้ำเยอรมัน บอกได้เลยว่านี่คือหนังที่ใช้ทุนสร้างเพียง 50 ล้านเหรียญแต่ให้ผลลัพธ์ทางด้านภาพได้คุ้มค่ามาก นั่งดูไปก็นึกเสียดายไปที่ไม่มีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้บนจอใหญ่ เชื่อแน่ว่าจะได้รับความสนุกกว่าการดูบนจอทีวีหลายเท่าตัวนัก
อีกแง่มุมที่แตกต่างจากหนังสงครามโลกที่เคยผ่านตามา คือการเล่าเรื่องผ่านตัวกัปตันเออร์เนสต์ เคราส์ หนังแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบอย่างใหญ่หลวงของหน้าที่กัปตันเรือ เขาเป็นทั้งมันสมอง หัวใจของเรือทั้งลำ ทุกคำสั่ง ทุกการตัดสินใจต้องผ่านความเห็นชอบจากเขาเพียงคนเดียว แม้จะเป็นหนังสงคราม แต่ด้วยบทบาทของกัปตันเรือที่ออกคำสั่ง และรับรายงานจากลูกเรือทุกตำแหน่งอยู่ตลอดเวลา Greyhound จึงเป็นหนังที่มีบทพูดและซับไตเติลขึ้นตลอดเวลาแทบไม่เว้นว่าง ทำให้ดูแล้วรู้สึกเห็นใจกับภาระของกัปตันเออร์เนสต์อย่างมาก ต้องรับโทรศัพท์จากเรืออื่น รับข้อมูลจากต้นหน ต้นกล จากพนักงานสื่อสาร บลา บลา บลา บางทีก็ 2 เรื่อง 3 เรื่องมาพร้อม ๆ กัน แม้เรื่องนี้ไม่ใช่งานยากสำหรับทอม แฮงค์ส ที่รับมาทุกบทบาทแล้ว แต่ความสามารถของนักแสดง 2 ออสการ์ที่เล่นน้อยได้มากนี้ ก็ทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกกดดันของกัปตันเออร์เนสต์ เคราส์ ได้ผ่านการแสดงออกทางสีหน้าสายตาของทอม ที่ครุ่นคิด สมองทำงานอยู่ตลอดเวลา ทอมยังแสดงให้คนดูเห็นถึงความอ่อนล้า ที่ค่อย ๆ มากขึ้นตามลำดับ ตลอดเวลา 48 ชั่วโมงที่เขาทำหน้าที่โดยไม่ได้พักผ่อน ลูกน้องแต่ละกะจะมาบอกลากัปตัน “หมดกะผมแล้วครับ” แต่กัปตันไม่มีใครสามารถมาทำหน้าที่แทนเขาได้เลย
พูดได้ว่า Greyhound เป็นหนังที่ใช้งาน ทอม แฮงค์ส ได้คุ้มค่า ซึ่งตัวเขาเองก็ทุ่มเทตั้งใจอย่างเห็นได้ชัด เพราะหนังเรื่องนี้ก็พะยี่ห้อ Playtone บริษัทสร้างหนังของทอมเองด้วย เป็นหนังที่เน้นขายชื่อ ทอม แฮงค์ส คนเดียวกันชัด ๆ ไปเลย แม้ว่าหนังจะใช้นักแสดงจำนวนมาก แต่ทุกคนก็ล้วนเป็นลูกเรือใต้บังคับบัญชา ซึ่งบทบาทแต่ละคนก็เท่าเทียมกันไปหมด จำชื่อจำหน้าใครไม่ได้ก็ไม่มีผลกระทบกับอรรถรสของหนัง แต่ก็มีอยู่รายหนึ่งที่บทหนังของทอม แฮงค์ส ฉลาดที่สอดแทรกตัวละครนี้เข้ามาแบบเนียน ๆ แล้วใช้ประโยชน์ในการสร้างอารมณ์สะเทือนใจได้สำเร็จ แม้จะไม่ถึงกับเรียกน้ำตาได้แต่ก็ทำให้หนังมีช่วงดราม่าแทรกเข้ามา
เป็นอีกหนึ่งหนังที่น่าสนใจมาก เพราะมีชื่อของดาราแม่เหล็กอย่าง ทอม แฮงค์ส และเป็นหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็โดนผลกระทบของโควิด-19 จากเดิมที่จะออกฉายเมื่อ 22 มีนาคม โซนี่พิกเจอร์ ประกาศว่าจะเลื่อนออกไปฉายปีหน้าเลย แต่ไป ๆ มา ๆ หนังก็ปล่อยสตรีมมิงทางApple TV ไปเมื่อ 10 กรกฎาคม ที่ผ่านมานี่เอง
Greyhound นับเป็นเรื่องที่ 2 ที่ทอม แฮงค์ส รับบทเป็นนายทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อจาก Saving Private Ryan (1997) และเป็นเรื่องที่ 2 ที่เขารับบทเป็นกัปตันเรือ ต่อจาก Captain Phillips (2013) แม้ว่าหนังจะเล่าเหตุการณ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สำหรับ Greyhound นั้น เพียงอิงเรื่องราวจากเหตุการณ์จริง แต่บุคคลต่าง ๆ ในเรื่องรวมถึงเรือรบ Greyhound ก็ถูกสมมติขึ้นเพราะว่าหนังดัดแปลงมาจากนิยาย The Good Sheperd ของ ซี.เอส. ฟอเรสเตอร์ ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1955 นู่น แต่ที่น่าสนใจก็คือเรื่องนี้ ทอม แฮงค์ส รับหน้าที่ดัดแปลงนิยายเป็นบทภาพยนตร์ด้วยตัวเอง นับเป็นหนังยาวเรื่องที่ 3 ที่เป็นฝีมือเขียนบทของเขา ต่อจาก Larry Crowne (2011) และ That Thing You Do (1996) นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมครับ สำหรับนักแสดงที่อยู่ในวงการมานานแล้วสั่งสมความสามารถในด้านต่าง ๆ มาพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาไม่ได้มีดีแค่ฝีมือการแสดงเท่านั้น
แม้ว่าเรา ๆ ต่างก็ดูหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 กันมาหลายสิบเรื่องแล้ว ล่าสุดก็เพิ่งได้ดู Midway กันไป แต่สำหรับ Greyhound ก็เลือกแง่มุมที่แตกต่างจากหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เคยผ่านตากันมา เพราะเลือกเล่าเรื่องจากมุมมองของกัปตันเรือพิฆาต ที่ได้รับมอบหมายให้คุ้มกันเรือขนส่งสินค้าจากอเมริกาไปอังกฤษ เป็นแง่มุมแปลกใหม่ที่ผมเชื่อว่าหลายคนน่าจะไม่รู้ว่ามีภารกิจแบบนี้ดำเนินอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย แต่ละเที่ยวกองเรือพิฆาตเหล่านี้ต้องทำหน้าที่คุ้มครองเรือพาณิชย์ครั้งละหลายสิบลำ
ความสนุกเและเข้มข้นของหนังอยู่ในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง ที่กองเรือพิฆาตนี้ต้องทำหน้าที่บอดี้การ์ดให้เรือพาณิชย์ระหว่างที่ลอยลำข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เพราะตอนที่ออกจากฝั่งอเมริกานั้นจะมีกองบินคุ้มกันบินมาส่ง แต่ฝูงบินก็บินห่างจากชายฝั่งได้ในระยะจำกัด ความมันส์มันเริ่มจากนาทีที่นักบินวิทยุมาบอกกัปตันเออร์เนสต์ เคราส์ ว่า “ผมมาส่งได้แค่นี้นะ ขอให้เดินทางโดยปลอดภัย”
กัปตัน เออร์เนสต์ เคราส์ รับหน้าที่กัปตันเรือครั้งแรกก็ได้รับภารกิจสุดท้าทายเลย เขารับหน้าที่กัปตันประจำเรือพิฆาต เกรย์ฮาวนด์ เป็นจ่าฝูงของกองเรือคุ้มกันที่ประกอบไปด้วยเรือพิฆาต แฮร์รี และ อีเกิล จากกองทัพเรืออังกฤษ และ ดิคกี เรือพิฆาตสัญชาตแคนาเดียน ทั้งหมดร่วมกันคุ้มกันเรือสินค้าไปส่งจนถึงท่าเรือลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ พอฝูงบินคุ้มกันคล้อยหลังไปไม่นาน เขาก็ต้องเผชิญหน้ากับ ฝูงเรือดำน้ำของเยอรมันที่ซุ่มโจมตีอยู่แล้ว ชื่อกองเรือว่า “หมาป่าสีเทา” เออร์เนสต์ เคราส์ ต้องบัญชาการทั้งเรือเกรย์ฮาวนด์ และเรืออื่นภายใต้บัญชาการเป็นเวลา 48 ชั่วโมง จนกว่าจะใกล้ชายฝั่งอังกฤษที่จะมีฝูงบินคุ้มกันจากอังกฤษมาต้อนรับ
ความแตกต่างของ Greyhound ก็คือเราเคยเห็นแต่หนังสงครามโลกครั้งที่ 2 บนบก แต่ไม่เคยเห็นหนังที่เล่าการสู้รบในท้องทะเลกันจริงจังแบบนี้มาก่อน แล้วสำคัญที่หนังได้ อารอน ชไนเดอร์ ผู้กำกับมือใหม่ที่เคยผ่านงานกำกับหนังมาแค่เรื่องเดียว Get Low (2009) แต่บทบาทจริงของเขาก็คือช่างถ่ายภาพยนตร์ ทำให้ Greyhound เป็นหนังสงครามที่ให้ความสำคัญกับงานภาพอย่างมาก เราได้เห็นภาพที่แปลกตาและน่าตื่นตาตื่นใจ ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของเรือพิฆาตที่พุ่งฝ่าคลื่น ได้เห็นภาพท้องทะเลจากมุมสูงขณะเรือรบกำลังโรมรันพันตูกัน ที่ประทับใจมากคือฉากเรือเกรย์ฮาวนด์หักหลบแบบฉิวเฉียดกับเรือโดยสารขนาดมหึมา หรือฉากกระหน่ำยิงแบบเผาขนกับเรือดำน้ำเยอรมัน บอกได้เลยว่านี่คือหนังที่ใช้ทุนสร้างเพียง 50 ล้านเหรียญแต่ให้ผลลัพธ์ทางด้านภาพได้คุ้มค่ามาก นั่งดูไปก็นึกเสียดายไปที่ไม่มีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้บนจอใหญ่ เชื่อแน่ว่าจะได้รับความสนุกกว่าการดูบนจอทีวีหลายเท่าตัวนัก
อีกแง่มุมที่แตกต่างจากหนังสงครามโลกที่เคยผ่านตามา คือการเล่าเรื่องผ่านตัวกัปตันเออร์เนสต์ เคราส์ หนังแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบอย่างใหญ่หลวงของหน้าที่กัปตันเรือ เขาเป็นทั้งมันสมอง หัวใจของเรือทั้งลำ ทุกคำสั่ง ทุกการตัดสินใจต้องผ่านความเห็นชอบจากเขาเพียงคนเดียว แม้จะเป็นหนังสงคราม แต่ด้วยบทบาทของกัปตันเรือที่ออกคำสั่ง และรับรายงานจากลูกเรือทุกตำแหน่งอยู่ตลอดเวลา Greyhound จึงเป็นหนังที่มีบทพูดและซับไตเติลขึ้นตลอดเวลาแทบไม่เว้นว่าง ทำให้ดูแล้วรู้สึกเห็นใจกับภาระของกัปตันเออร์เนสต์อย่างมาก ต้องรับโทรศัพท์จากเรืออื่น รับข้อมูลจากต้นหน ต้นกล จากพนักงานสื่อสาร บลา บลา บลา บางทีก็ 2 เรื่อง 3 เรื่องมาพร้อม ๆ กัน แม้เรื่องนี้ไม่ใช่งานยากสำหรับทอม แฮงค์ส ที่รับมาทุกบทบาทแล้ว แต่ความสามารถของนักแสดง 2 ออสการ์ที่เล่นน้อยได้มากนี้ ก็ทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกกดดันของกัปตันเออร์เนสต์ เคราส์ ได้ผ่านการแสดงออกทางสีหน้าสายตาของทอม ที่ครุ่นคิด สมองทำงานอยู่ตลอดเวลา ทอมยังแสดงให้คนดูเห็นถึงความอ่อนล้า ที่ค่อย ๆ มากขึ้นตามลำดับ ตลอดเวลา 48 ชั่วโมงที่เขาทำหน้าที่โดยไม่ได้พักผ่อน ลูกน้องแต่ละกะจะมาบอกลากัปตัน “หมดกะผมแล้วครับ” แต่กัปตันไม่มีใครสามารถมาทำหน้าที่แทนเขาได้เลย
พูดได้ว่า Greyhound เป็นหนังที่ใช้งาน ทอม แฮงค์ส ได้คุ้มค่า ซึ่งตัวเขาเองก็ทุ่มเทตั้งใจอย่างเห็นได้ชัด เพราะหนังเรื่องนี้ก็พะยี่ห้อ Playtone บริษัทสร้างหนังของทอมเองด้วย เป็นหนังที่เน้นขายชื่อ ทอม แฮงค์ส คนเดียวกันชัด ๆ ไปเลย แม้ว่าหนังจะใช้นักแสดงจำนวนมาก แต่ทุกคนก็ล้วนเป็นลูกเรือใต้บังคับบัญชา ซึ่งบทบาทแต่ละคนก็เท่าเทียมกันไปหมด จำชื่อจำหน้าใครไม่ได้ก็ไม่มีผลกระทบกับอรรถรสของหนัง แต่ก็มีอยู่รายหนึ่งที่บทหนังของทอม แฮงค์ส ฉลาดที่สอดแทรกตัวละครนี้เข้ามาแบบเนียน ๆ แล้วใช้ประโยชน์ในการสร้างอารมณ์สะเทือนใจได้สำเร็จ แม้จะไม่ถึงกับเรียกน้ำตาได้แต่ก็ทำให้หนังมีช่วงดราม่าแทรกเข้ามาเป็นอีกรสชาติหนึ่ง
บทที่รองจากทอม แฮงค์ส ก็มีอีกเพียงคนเดียวคือ สตีเฟน เกรแฮม ตัวร้ายตลอดกาลที่มักจะรับบทเป็นมาเฟีย พอมาเรื่องนี้รับบทเป็น ชาร์ลี โคล ต้นหนเรือ ก็เลยชวนให้กังวลพอควรว่าการที่ฝ่ายแคสติงเลือก สตีเฟน มารับบทนี้จะมีอะไรแอบแฝงมั้ย ดูไปลุ้นไปว่าต้นหนเรือจะพลิกบทบาทมาร้ายตอนไหนไหม ต้องย้ำว่านี่คือหนังทหาร หนังสงคราม แต่ผู้สร้างกลัวจะแห้งแล้งไป ก็เลยสอดแทรก อลิซาเบ็ธ ซู เข้ามาหน่อยนึง ในบทบาทคนรักของกัปตันเออร์เนสต์ เคราส์ ที่แทบจะเรียกได้ว่าบทรับเชิญเลย แต่ก็ได้เครดิตไปเป็นชื่อแรก ๆ ด้วย
มีประทับใจหลายจุดครับ เพราะดูโดยไม่ได้คาดหวังอะไรมากนัก แต่ก็เจออะไรที่น่าประทับใจมากมาย อีกจุดที่ชอบคือบรรยากาศรวมของหนังที่องค์ประกอบหลาย ๆ ส่วน ทั้งงานภาพงานเสียงทำงานร่วมกันได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นบรรยากาศมวลรวมที่ดึงคนดูอินไปกับเหตุการณ์ได้ง่าย โทนสีภาพซีดมาก แทบเป็นสีเทาทั้งเรื่องเลย ตลอดทั้งเรื่องไม่มีแสงแดดให้เห็น บวกกับเสียงประกอบ ที่ไม่ขอใช้คำว่าดนตรีประกอบนะ เพราะเป็นซาวนด์เอฟเฟกต์เสียงแปลก ๆ เหมือนหวูดดังโหยหวนตลอดทั้งเรื่อง แปลกก็จริง แต่ก็เข้ากับบรรยากาศวังเงของเรื่อง ที่เกรย์ฮาวนด์ต้องแบกรับชะตากรรมของตัวเอง และเรือในอารักขาอีกมาก แล้วไม่รู้ว่าแต่ละนาทีที่ผ่านไป เขาจะต้องเจอกับอะไรอีกบ้าง
การที่หนังคุมโทนภาพให้ออกมาทึม ๆ ซีด ๆ เหมือนอยู่ในหมอกตลอดเวลา ก็มีผลดีกับการทำภาพ CGI คือใครดูก็รู้ล่ะว่า Greyhound เป็นหนังที่ต้องใช้ CGI สร้างภาพทั้งเรือพิฆาตและเรืออูอย่างมากเลยล่ะ แต่งานภาพที่ออกมามืด ๆ ทึม ๆ ก็เลยทำให้งาน CGI ดูเนียน ๆ ไปได้ ถ้ามีแผลก็ไม่เห็นชัดเหมือนอย่างหนัง Midway ที่สว่างโร่แทบทั้้งเรื่อง เรื่องนั้นก็เลยโดนตำหนิในเรื่องงาน CGI ไปเสียเยอะ ทั้งที่ใช้ทุนสร้างกว่าเรื่องนี้เป็นเท่าตัว
เรืออูของเยอรมันในฐานะตัวร้ายของเรื่อง ก็เป็นตัวร้ายที่มีพิษสงพอควร ทั้งที่ตลอดเรื่องหนังเล่าผ่านมุมมองของเกรย์ฮาวนด์แค่ฝ่ายเดียว แต่เมื่อคู่ต่อสู้เป็นเรือดำน้ำก็เลยเป็นตัวร้ายที่ลึกลับ น่ากลัว และมีส่วนช่วยทำให้หนังดูมีความระทึกขวัญออกแนวทริลเลอร์ได้ เพราะเป็นศัตรูที่มองไม่เห็น ไม่รู้จะโผล่มาในทิศทางไหน และที่สำคัญคือไม่รู้จำนวน ปราบไปได้ทีละลำ ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะหมดจะมีโผล่มาใหม่อีกกี่ลำ แถมยังมีการใช้สงครามประสาทกดดันกับฝ่ายพันธมิตร เป็นเทคนิคข่มขวัญที่ไม่เคยเห็นในหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่องไหน เมื่อฝ่ายเยอรมันวิทยุเข้ามากดดันเรื่อย ๆ “กูจะฆ่าพวกมึงให้หมด พวกมึงจะต้องตายหมดในวันนี้”
Greyhound พร้อมสตรีมมิงให้ชมแล้ววันนี้ทาง Apple TV แต่ถ้ามีค่ายไหนซื้อมาฉายโรงได้ นี่คือหนังที่สมควรดูบนจอใหญ่ในโรงภาพยนตร์อย่างมาก ขนาดว่าดูจอเล็กยังสนุกขนาดนี้ ถ้าได้ดูจอใหญ่ โดยเฉพาะฉากกราดยิงแลกกระสุนกันนี่ จะต้องเพิ่มระดับความมันส์ขึ้นอีกหลายเท่า ถูกใจคนชอบหนังสงครามแน่นอน ปูความแค่ไม่กี่นาที ก็ซัดกันยาว ๆ เลย ฉากรบอัดแน่นทั้งที่หนังค่อนข้างสั้นมาก ถ้าไม่นับเครดิตท้ายเรื่องแล้ว หนังยาวไม่ถึง 90 นาทีเลย บอกเลยว่านี่คือหนังที่โดนผลกระทบจากโควิด-19 แล้วต้องมาลงจอเล็กได้อย่างน่าเสียดายมาก ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง