ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

Kim Ji Young: Born 1982 คิมจียอง เกิดปี 82 (2019) พากย์ไทย บรรยายไทย

Kim Ji Young Born 1982 คิมจียอง เกิดปี 82 (2019)   เต็มเรื่อง
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังดราม่า

เรื่องย่อ : Kim Ji Young: Born 1982 คิมจียอง เกิดปี 82 (2019) พากย์ไทย บรรยายไทย

ชื่อภาพยนตร์ : Kim Ji Young Born 1982  คิมจียอง เกิดปี 82
แนว/ประเภท : ละคร
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Kim Do-Young
บทภาพยนตร์ : Kim Do-Young
นักแสดง : Yoo Gong, Yu-mi Jung, Mi-kyung Kim

วันที่ออกฉาย : 24 ธันวาคม 2562

 

 

เกิดเป็นผู้หญิง ผิดตรงไหน ? กงยู และ จองยูมิ จะมาเรียกน้ำตาผู้ชม ในภาพยนตร์ที่สั่นสะเทือนประเทศเกาหลี KIM JI-YOUNG, BORN 1982 คิมจียองเกิดปี ’82 ผลงานนวนิยายจากปลายปากกาของนักเขียนโชนัมจู ที่ทำยอดขายมากกว่า 1 ล้านเล่มภายใน 2 ปี เล่าเรื่องราว คิมจียอง (จองยูมิ) ผู้หญิงชาวเกาหลีธรรมดาๆคนหนึ่ง ที่แม้ว่าเธอจะแต่งงาน และมีลูกสาวที่น่ารัก แต่ก็ทำให้เธอจำต้องล้มเลิกการทำหลายสิ่งหลายอย่างไป จองแดฮยอน ( กงยู ) สามีของเธอ สังเกตพบว่าได้เกิดอะไรบางอย่างขึ้นกับจียองทำให้เขารู้สึกเป็นกังวล เมื่อเธอเริ่มทำตัวแปลกไปราวกับเป็นคนอื่น

 

IMDB : tt11052808

คะแนน : 7.5

รับชม : 2305 ครั้ง

เล่น : 738 ครั้ง




 

หรือชื่อไทยว่า คิมจียอง เกิดปี ’82 สร้างมาจากนวนิยายขายดีในชื่อเดียวกัน ที่ประพันธ์โดย โชนัมจู ซึ่งได้ใช้เวลาเขียนเรื่องนี้เพียงแค่สองเดือน เธอบอกว่า ชีวิตของคิมจียอง ก็ ‘ไม่ต่าง’ อะไรจากชีวิตของตัวเธอ จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้อย่างรวดเร็ว งานประพันธ์เรื่องนี้ จัดเป็นงานแนว Feminism คือ คตินิยมสิทธิสตรี ถูกตีพิมพ์ออกจำหน่ายเมื่อตุลาคม 2016 และมียอดจำหน่ายสูงถึงล้านเล่มในอีกสองปีถัดมา ทำให้เป็นนวนิยายเกาหลีที่สร้างสถิติทะลุล้านเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังถูกนำไปผลิตฉบับแปลจำหน่ายในอีก 16 ประเทศทั่วโลก
 


 

 

เมื่อหยิบมาทำเป็นงานภาพยนตร์  โดยการกำกับภาพยนตร์ครั้งแรกของ คิมโดยอง ซึ่งเป็นผู้กำกับหญิงเช่นกัน การเลือกนำเอา จองยูมิ และ กงยู มาร่วมบทกันอีกเป็นครั้งที่สาม ก็ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายนัก หลังจากการร่วมงานกันมาใน The Silenced (2011) และ Train to Busan (2016) จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เรื่องนี้น่าติดตาม


 

 

เหนืออื่นใด คือเนื้อหาโดนใจที่สะท้อนชีวิตจริงของผู้หญิงเกาหลีซึ่งอยู่ในสังคมเหลื่อมล้ำทางเพศค่อนข้างสูง ทำให้ชีวิตเธอและครอบครัวประสบปัญหาบางอย่าง

ซึ่งเนื้อหานำไปสู่ประเด็น Controversial โต้แย้งในสังคมเกาหลี  เกิดกระแสแตกออกเป็นสองฟาก  คือมีทั้งกลุ่มที่สนับสนุน Feminism ซึ่งก็เป็นความต่อเนื่องมาจากกระแส #MeToo (การแสดงพลังต่อต้านการคุกคามทางเพศในสื่อโซเชียลที่ร้อนฉ่าในปีที่ผ่านมา) และกำลังส่งต่อไปกระแสอื่นๆ เช่น การเป็นขบถต่อความงาม คือผู้หญิงเกาหลีกลุ่มหนึ่งกำลังเลิกสนใจความงาม

ส่วนอีกฟาก ที่เป็นกลุ่มที่ต่อต้าน Anti-Feminism ก็มองต่างมุมว่าเป็นเรื่องการปลุกปั่นคตินิยมเกินจริง เรียกร้องสิทธิเกินเหตุ ตัวอย่างปฏิกิริยาต่อต้านถึงขั้นชวนอึ้ง ที่มีศิลปินเกิร์ลกรุ๊ป ไอรีน Red Velvet ถูกแฟนคลับชายฉีกและเผารูปทิ้ง บ้างก็ประกาศถอนตัวจากแฟนคลับหลังเธอเปิดเผยว่าอ่านหนังสือเล่มนี้ หรือเรื่องการโต้แย้งจากกลุ่มผู้ชายว่าเป็นเพศที่เผชิญความเหลื่อมล้ำเช่นกัน เพราะต้องเกณฑ์ทหาร เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ยังสามารถทำรายได้ค่อนข้างดี สูงเป็นอันดับ 6 ของปีนี้ และที่สำคัญ รีวิวนี้ผู้เขียนเป็นหญิงค่ะ อิอิ เลยมีแนวโน้มจะลำเอียงขอเชียร์เรื่องนี้เป็นพิเศษ นอกเหนือจากความดีงามของเนื้อหาที่มีเต็มๆ



 

 

ทำไมจึงเป็น.. คิมจียอง .. และเกิดปี 1982 ด้วย ?

ก็เพราะว่า เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นตัวแทนให้ผู้หญิงทั้งหลายของสังคมได้ เป็นการการถ่ายทอดเรื่องเรียลๆ เรื่องที่ดูเหมือนคุ้นเคยพบเห็นได้ทั่วไป (หลายเหตุการณ์จะพบบ่อยๆในหนังหรือซีรีส์ที่ดูกันเป็นประจำ) ชื่อ คิมจียอง เป็นชื่อผู้หญิงเกาหลีที่พบได้ดาษดื่น จึงนำมาสื่อถึงผู้หญิงธรรมดาๆในสังคมได้ดี และผู้หญิงที่เกิดปี 1982 คือตัวแทนคนวัย 30+ วัยที่ได้ผ่านชีวิต มีประสบการณ์ทั้งในความเป็น ลูก หลาน ภรรยา แม่ คนทำงานในสังคมยุคสมัยใหม่

คิมจียอง ที่มีชีวิตวนเวียนอยู่กับสังคมเหลื่อมล้ำทางเพศมาตลอดวงจรสามสิบเจ็ดปีที่เกิดมา ทุกอย่างค่อยๆสะสมทับถมไว้ในจิตใจของเธอ ตั้งแต่เด็ก..เธอก็เห็นเรื่องราวของแม่ของตัวเองในครอบครัวที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ชายมีคุณค่าตัวตนสำคัญ ได้สิทธิพิเศษก่อนหรือมากกว่าเสมอ เมื่อโตมาทำงาน..ก็เห็นเรื่องราวของพนักงานของตัวเองที่ถูกเลือกปฏิบัติ ความเป็นเพศชายเพศหญิงมีผลต่อโอกาสและการเติบโตในงาน  มื่อแต่งงาน..ก็ตกอยู่ในสถานะและบทบาทภาคบังคับของสะใภ้ในครอบครัวสามี กับความรับผิดชอบในหน้าที่ของแม่ ที่ทั้งคลอดและเลี้ยงดูลูกด้วยตนเอง งานที่เหมาะสมกับเธอจึงมีเพียงการเป็นแม่บ้าน

 

เพียงเพราะเธอเป็นผู้หญิง จึงถูกริดรอนศักดิ์ศรีตัวตนและสถานะความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมไป ไร้สิทธิ์จะฝันเกินหน้าที่และบทบาทของเพศที่ถูกสังคมกำหนดมาจากวัฒนธรรมและแบบแผนค่านิยม ซึ่งถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ จนกลายเป็นการดำเนินชีวิตแบบอนุรักษ์นิยม ที่ทำทุกอย่างไปอย่างเคยตัว ใครที่ไหวตัวทันและพอปรับตัวหาทางออกได้บ้าง เช่น พี่สาวของเธอก็อาจจะประคับประคองชีวิตไปแบบไม่ทุกข์นัก แต่สำหรับ คิมจียอง ที่ค่อนข้างอ่อนไหว การพยายามทำมันให้สมบูรณ์ตามหน้าที่ ก็เหมือนการเก็บกดความรู้สึกสะสมไว้ภายใน จนมันระเบิดออกมาในรูปแบบของการป่วยทางจิตที่เป็นกลไกทางจิตที่สร้างพื้นที่ปลดปล่อยระบายความอัดอั้นออกมาเป็นครั้งคราว โดยที่เธอเองไม่รู้ตัวหรอกว่าทำอะไรลงไป

สามีที่ทั้งสงสารและเป็นห่วง จึงต้องหาวิธีดูแลและรีบให้เธอได้รับการรักษาอย่างละมุนละม่อมต่อจิตใจ แต่สิ่งที่เยียวยาคลี่คลายปมได้ดีที่สุด คงหนีไม่พ้นความรักเข้าใจของคนในครอบครัวเองที่ต้องอาศัยการปรับทัศนคติใหม่ และการช่วยหนุนให้เธอได้เห็นคุณค่าตัวตนของตัวเองในทางใดทางหนึ่ง
 


 

 

หนังจะพ่วงแตะให้เห็นถึงการเผชิญปัญหาของผู้หญิงอื่นๆในสังคม ไม่เพียงเฉพาะ ‘คิมจียอง’ คนเดียว ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องความเหลื่อมล้ำ การเลือกปฏิบัติ ยังรวมไปถึงปัญหาการคุกคามทางเพศ บางครั้งที่ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อ ก็ถูกตอกกลับว่าเป็นเพราะความผิดของเธอที่รู้จักปกป้องตัวเอง หรือพาตัวเองเข้าไปให้ถูกกระทำเองหรือเปล่า แต่งตัวโป๊ไปเองหรือเปล่า เป็นต้น จึงเหมือนว่าพวกเธอต่างต้องคิดช่วยเหลือตัวเอง ถึงขั้นปล่อยเป็นมุกตลกร้ายเช่น เมื่อพวกเธอถูกกล้องแอบส่องวิตถารในห้องน้ำในที่ทำงาน ทางแก้คือเลี่ยงไม่ใช้ห้องน้ำนั้นซะ หรือเอาผ้าอ้อมลูกมานุ่งซะ

แม้ว่าปลายทางจะนำไปสู่การคลี่คลายเคสของคิมจียองเป็นหลัก ไม่ได้มีการนำเสนอหรือเรียกร้องการแก้ไขในระดับสังคมภาพรวมให้เห็น ซึ่งก็คงไม่ใช่จุดประสงค์หลักของหนัง แต่ก็ชวนให้แอบหวังใจเองว่า นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆที่ชี้นำให้ผู้มีพลังขับเคลื่อนในสังคมมาช่วยกันเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเป็นรูปธรรมมากขึ้นในสังคมรุ่นต่อๆไปข้างหน้า ที่มีผู้ชายทัศนคติใหม่แบบสามีหรือน้องชายของคิมจียองมากขึ้น


 

 

อรรถรสที่ชวนคล้อยตามผ่านการเดินเรื่องช้าๆ แต่ก็ทำให้อินตามจนบางฉากสะเทือนใจเชียว ยิ่งถ้าใครที่พอมีประสบการณ์ใกล้เคียง (เพราะวัฒนธรรมเอเชีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ค่อนข้างใกล้กันในการยึดชายเป็นใหญ่) ก็อาจได้ฟิล ‘เออ..เหมือนกันเลย’  แต่สไตล์การเดินเรื่องที่อาจสร้างความงุนงงบ้างเพราะเล่าสลับไปมา ไม่เรียงลำดับเวลา เน้นการย้อนอดีตเพื่อชี้สาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้  ไล่ไปทีละเหตุทีละเรื่อง ค่อยๆสะสมให้ผู้ชมถึงจุดพีค ระเบิดอารมณ์ตามไปพร้อมๆกับตัวละคร  ซึ่งในอีกด้านก็ให้ข้อดีในการเพิ่มมิติหนัง การสื่อความเข้าใจของเหตุและผล เพื่อตอกย้ำลงไปถีงแก่นของเนื้อหาหลัก

จองยูมิ สวมบทบาทของ คิมจียอง ได้เนียน ธรรมชาติ ปล่อยอารมณ์ผ่านสีหน้าและสายตาไปกับเรื่องได้ดีมาก บวกคุณค่าของสิ่งที่เธอร่วมถ่ายทอดออกมา สมควรยิ่งแล้วที่เธอจะบอกว่าเป็นความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตการแสดง

ผู้เขียนเองยังไม่ได้อ่านหนังสือต้นฉบับ ซึ่งคนส่วนใหญ่บอกมาว่าแตกต่างกับต้นฉบับไม่น้อย ในเวอร์ชั่นของหนังอาจจะไม่ลำดับเรื่องหรือเล่าเป๊ะตามหนังสือ มีการประกอบร่างใหม่ให้เหมาะกับวิถีของภาพยนตร์ และเสริมแม่เหล็กด้วยบทของกงยู จากคิมจียองที่เป็นบทนำหลักเดี่ยวเป็น ‘พระเอก’ ของเรื่อง สามารถสอดแทรกชูบทของสามีให้เป็นบทนำคู่กันมาได้ในมิติที่ยังเป็น ‘พระเอก’ อีกคนได้ด้วย โดยที่สอดคล้องกับเรื่องราวได้อย่างดี หลายคนดูจบ ก็คงคิดอยากได้สามีแบบนี้เหมือนกัน นอกเหนือจากเพราะความเป็นสามีแห่งชาติของ ‘กงยู’ นะ ต้องมาลองดูจริงๆ คือดี!

วลีคุ้นๆของไทยเราที่ว่า ‘เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก’ ก็ค่อนข้างตรงกันนะ แต่ท้ายสุดแล้ว ทุกปัญหามีทางออกเสมอ ทางใดทางหนึ่ง ซึ่งอาจไม่ใช่ทางตรงหรืออาจต้องใช้เวลาสักหน่อย จึงขอเป็นกำลังใจให้ผู้หญิงทุกคนค่ะ