ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

Red Beard หมอเคราแดง (1965) พากย์ไทย

Red Beard  หมอเคราแดง (1965) พากย์ไทย
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังดราม่า

เรื่องย่อ : Red Beard หมอเคราแดง (1965) พากย์ไทย

ชื่อภาพยนตร์ : Red Beard  หมอเคราแดง
แนว/ประเภท : Drama
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Akira Kurosawa
บทภาพยนตร์ : Masato Ideม   Hideo Oguni
นักแสดง : Yûzô Kayama,   Toshirô Mifune,   Tsutomu Yamazaki
วันที่ออกฉาย : 3 April 1965

 

 

 

มีหนังที่น่าสนใจเรื่องนึง ที่เกี่ยวกับคนที่เป็นหมอ เรื่องนี้เป็นหนังขาวดำปี 1965 หนังค่อนข้างยา  เป็นเรื่องเกี่ยวกับหมอที่จบมาจากสำนักดีๆเป็นหมอที่เก่ง แต่ถูกพ่อส่งมาฝึกงานกับหมอเคราแดง ที่โรงพยาบาล  รักษาคนจน เค้าต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะไม่เคยคิดว่าคนที่จบจากสำนักดีๆจะต้องมารักษาคนไข้ในโรงพยาบาล  สำหรับคนจน ทันทีที่หมอคนนี้มาถึงกลิ่นแรกที่ได้กลิ่นคือ กลิ่นของคนจน  โดยโรงพยาบาลนี้มีหมอใหญ่ฉายา เคราแดง หมอหนุ่มคนนี้จะต้องมาเป็นลูกมือของเคราแดง แรกๆหมอหนุ่มคนนี  ก็ประชดโดยการไม่ยอมช่วยอะไร พออยู่นานขึ้นเริ่มเห็นสิ่งดีจากการรักษาคนไข้ ก็เริ่มทำตัวให้มีประโยชน์ โดยการช่วยรักษาคนไข้ หมอหนุ่มถูกมอบหมายไห้ดูแลเด็กหญิงคนนึงที่ป่วย เขาทุ่มการรักษาอย่างเต็มที่ จนในที่สุดเด็กคนนั้นก็หายดี ทำไห้ เริ่มเข้าใจว่าการรักษาคนไข้โดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นสิ่งที่หมอควรทำ ในที่สุดก็ตัดสินใจที่จะ

ทำงานเป็นหมอรักษาอยู่ที่นี่อย่างถาวร เรื่องนี้เป็นหนังขาวดำที่ดีเรื่องนึง 

 

 

Red Beard (1965) – MUBI

IMDB : tt0058888

คะแนน : 8.4

รับชม : 432 ครั้ง

เล่น : 49 ครั้ง



 

“Red Beard” หรือถ้าเรียกเป็นภาษาไทย อาจต้องใช้คำว่า “หมอเคราแดง”  

ซึ่งนอกจากต้องจัดเอาไว้ในประเภท “หนังดีที่ต้องดู” หรือถ้าหากไม่ดูอาจ“เสียชาติเกิด”เอาเลยก็ไม่แน่ ยังอาจถือเป็นหนังที่เข้ากับบรรยากาศบ้านเราในช่วงนี้ที่เรื่องหมงๆ หมอๆ ชักถูกนำไปเกี่ยวพันกับเรื่องการมง การเมือง ขึ้นมาจนได้ด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่จะไปติดตามกันเอาเอง แต่ไม่ว่าใครก็ตาม…ที่จะมีแนวคิด
มีทัศนะคติทางการเมือง ไปในแบบไหน แนวไหน ก็แล้วแต่ จะเป็นฝ่ายเหลืองฝ่ายแดง น่าจะไปหยิบ ไปคว้าเอาหนังเรื่องนี้มาดูให้จงได้ เพราะเป็นสิ่งที่อาจให้“คำตอบ”หรือ “คำอธิบาย”ถึง “ความเป็นหมอ”ได้อย่างชนิดลึกซึ้ง ถึงแก่นหรือเป็นคำตอบและคำอธิบาย ที่เลยไปจากเรื่องการมง การเมืองหรือเหนือไปกว่าเรื่องความขัดแย้งทางความคิดใดๆก็ตาม ที่ออกจะไม่เป็นเรื่องหรือไม่ได้เรื่อง ได้ราว เมื่อเทียบกับสิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นหมอ” หรือความเป็นผู้มีอาชีพในการดูแล รักษา บรรดา “ผู้ป่วย”ทั้งหลาย…

ปรมาจารย์ “คูโรโซวา”ท่านไปหยิบเอาเค้าโครงบางส่วน จากวรรณกรรมประเภท“เรื่องสั้น”ของนักเขียนญี่ปุ่น ชื่อว่า “ชูโกโระ ยามาโมโต” (Shugoro Yamamoto) ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องเด็กผู้หญิงรายหนึ่ง ที่ได้รับการช่วยเหลือจากซ่องโสเภณีขณะที่กำลังมีอาการป่วย และกำลังถูกบังคับให้ขายตัว ทั้งๆที่มีอายุได้แค่ 12 ปีมาดัดแปลง แต่งเสริม เพิ่มเติม จนกลายไปเป็นเรื่องของหมอหนุ่มรายหนึ่ง ชื่อว่า“โนโบรุ ยาซูโมโต” (Noboru Yasumoto)ที่เพิ่งเรียนจบวิชาแพทย์สมัยใหม่จากพวกหมอตะวันตกอย่างชาวดัชท์ ในเมืองนางาซากิ และถูกส่งให้มาดูงาน ฝึกงานที่โรงพยาบาล หรือคลีนิคเล็กๆในกรุงโตเกียว ยุคที่ยังเรียกขานกันในนามเมือง“เอโดะ” (Edo)หรือในยุคสมัย “โชวะ”โน่นเลย

และต้องมาเจอกับผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือผู้บริหารคลีนิคที่ออกไปทาง “ห้าวเป้ง” พอสมควร หรือออกไปทางใจกล้า ใจถึง เด็ดเดี่ยวและดื้อดึงอาจไม่น้อยไปกว่าประเภท “หมอเหรียญทอง” ของบ้านเรา อะไรประมาณนั้น…นั่นก็คือ “หมอเคราแดง” หรือนายแพทย์ “เคียวโจ นิอิเดะ” (KyojoNiide)ที่อภิมหาดาราคู่ขวัญ คู่บารมี ของ “คูโรซาวา”หรือพระเอก “โตชิโร มิฟูเน”(Toshiro Mifune)เป็นผู้รับบท ได้อย่างสอดคล้อง ลงตัวเอามากๆ และด้วยวัตรปฏิบัติด้วยวิถีทางแห่ง “ความเป็นหมอ”ตามแบบฉบับของ “หมอเคราแดง”รายนี้นี่เองที่ทำให้หมอหนุ่มอย่าง “โนโบรุ ยาซูโมโต”ที่เคยทะเยอทะยาน อยากมีเงิน มีทองมีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี มีสถานะตำแหน่ง ชนิดตั้งความหวังว่าอยากเป็น“หมอประจำตัวโชกุน”ให้จงได้กลับถูกแปรสภาพให้กลายเป็นหมอที่อยากจะคลุกคลีอยู่กับบรรดาคนยาก คนจน  

อยากจะสืบทอดวิถีทางแห่งความเป็นหมอ ตามแบบฉบับ“หมอเคราแดง”ชนิดไม่คิดสนใจชื่อเสียง ตำแหน่ง เกียรติยศ รายได้ใดๆและโดยแทบไม่ต้องสนใจว่าคนป่วย หรือคนไข้ ของตัวเองจะเป็นใคร เป็นฝ่ายไหนต่อฝ่ายไหน ต่อไปอีกเลย ขอแต่เพียงให้เป็นคนทุกข์ คนยาก คนที่ต้องพึ่งพาอาศัย“ความเป็นหมอ” ไม่ว่าในทางร่างกาย หรือจิตใจ ก็ตามที… คือสิ่งที่ปรมาจารย์ “คูโรโซวา”ท่านพยายามให้ “คำตอบ”หรือ“คำอธิบาย” เอาไว้ในหนังเรื่องนี้นั้น…สิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นหมอ”ในทัศนะของท่าน ออกจะเป็นอะไรที่สูงส่งไปกว่าเรื่องเล็กๆน้อยๆใดๆทั้งสิ้น หรือเป็นเรื่องของ“ชีวิต”ล้วนๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องการมง การเมือง การไม่ลงรอยกันทางความคิดความอ่านใดๆก็แล้วแต่ เพราะโดยวิชาชีพที่ต้องคลุกคลีอยู่กับความป่วย ความไข้ความทนทุกข์ทรมาณ ไม่ว่าจะในด้านร่างกาย หรือจิตใจ ของคนป่วย คนไข้ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้ที่เป็นหมอไม่ว่าทางหนึ่งทางใดสิ่งเหล่านี้นี่แหละ…ที่อาจทำให้บรรดา “หมอๆ”ทั้งหลาย อาจเกิดความเข้าใจต่อ “ชีวิต”แต่ละชีวิตมากขึ้นๆ หรือมากพอที่จะปรับเปลี่ยนทัศนะคติ มุมองที่มีต่อชีวิตแต่ละชีวิตไม่ว่าชีวิตเหล่านั้นจะยาก-ดี-มี-จน หรือมีความผิดแผก แตกต่างกันไปในลักษณะไหน เพราะสุดท้าย…ต่างก็มีแต่ต้อง “ตาย…กับ…ตาย” ต้องเจอกับความเจ็บปวด รวดร้าว ทรมาณ ความรัก ความพลัดพราก ฯลฯ ไปด้วยกันทั้งสิ้น…

ชีวิตของคนไข้ คนป่วย ในแต่ละราย…ที่อยู่ในความดูแลของหมอนั่นเอง ที่กลายเป็น“บทเรียน-บทศึกษา”ที่จะทำให้หมอแต่ละราย สามารถหาคำตอบ คำอธิบายด้วยตัวเอง ว่าจะดำรง รักษา “ความเป็นหมอ”เอาไว้ในแนวไหน เป็นบทเรียน-บทศึกษาที่มีคุณค่ามากซะยิ่งกว่าความรู้ทางการแพทย์ ทางวิทยาการใดๆ
เนื่องจากมันคือ “ความรู้”ในเรื่องราวของ “ชีวิต”นั่นเองความรู้ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจถึงคุณค่าแห่งความรัก ความเมตตา ความอดทนอดกลั้น และความเสียสละ การมองเห็นถึงความสำคัญของชีวิตใดๆก็ตามซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น “เพื่อนผู้ร่วมวัฏสังสาร”ไปด้วยกันทั้งสิ้น หรือเป็นความรู้ที่สูงส่งไปซะยิ่งกว่าเรื่องการมง การเมืองใดๆก็ตาม อันล้วนแต่เป็นแค่“ผลพวง”ของสภาวะแวดล้อมในช่วงใด ช่วงหนึ่ง ยุคใด ยุคหนึ่ง แต่เพียงเท่านั้น

และด้วยความรู้ในลักษณะที่ว่านี่เอง ที่ทำให้ผู้ซึ่ง “เข้าถึง-เข้าใจ”ต่อ“ความเป็นหมอ”จึงแทบไม่ต่างอะไรไปจาก “เทวดา”หรือ“พระโพธิสัตว์”เอาเลยก็ไม่แน่ แม้จะยังเป็นแค่ปุถุชนคนธรรมดา ที่มีทิษฐิ มานะมีความดื้อ ความห้าว กันในลักษณะใดๆก็ตาม…
ดังเช่น…ความ “ห้าวเป้ง”ของ “หมอเคราแดง”ที่น่าจะห้าวซะยิ่งกว่า“หมอเหรียญทอง”บ้านเราไม่รู้กี่เท่า ต่อกี่เท่า คือพร้อมที่จะลงมือ ลงตีนกับบรรดาพวกนักเลง อันธพาล ที่ทำหน้าที่ “คุมซ่อง”ทั้งหลาย ชนิดแขนหัก ขาหักกันไปเป็นรายๆ ขณะที่พยายามนำตัวของเด็กผู้หญิงอายุ 12 ขวบ ผู้กำลังป่วยหนักทั้งทางร่างกายและจิตใจ ออกมารักษา เยียวยาระหว่างที่กำลังถูกแม่เล้าบังคับให้ขายตัวให้จงได้ เพียงแต่ว่า“ความห้าว”ที่ว่านี้…มันไม่ได้มีที่มาจากเรื่องการมง การเมืองใดๆเอาเลยแม้แต่น้อยแต่มาจากเรื่องของ “ชีวิต”ล้วนๆ เรื่องของ “ความดี-ความเลว”อันเป็นสิ่งที่อยู่เหนือไปกว่าเรื่องของการเมือง หรือเรื่องของศีลธรรมคุณธรรม มโนธรรม ทั้งหลายนั่นแหละเป็นหลัก…

อย่างไรก็ตาม…สำหรับผู้ที่มี “ต่อมน้ำตาตื้น” ก็คงต้องขอเตือนๆเอาไว้ก่อนว่าอาจต้องหาผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าเช็ดตัว เตรียมๆเอาไว้ซักสองผืน-สามผืนเพราะระหว่างดูๆหนังเรื่องนี้ อาจถึงขึ้นต่อมน้ำตารั่ว ต่อมน้ำตาแตก เอาง่ายๆเพราะไม่ว่าโดยฝีมือการกำกับของปรมาจารย์อย่าง“คูโรซาวา”หรือความสามารถในการแสดงของนักแสดงแต่ละตัวชั่งเป็นอะไรที่ละเอียด ประณีตนิ่มเนียนเอามากๆชนิดดูแล้ว…อาจแทบไม่อยากสนใจในเรื่องการมง การเมือง เรื่องความขัดแย้ง

ความกระทบกระทั่งกันในเรื่องเล็กๆน้อยๆต่อไปอีกแล้ว เพราะเรื่องของ“ความเป็นมนุษย์”นั้น มันเป็นอะไรที่น่าสนใจยิ่งกว่าไม่รู้กี่สิบ กี่ร้อยเท่า…

 

Red Beard (1965