ดูหนังออนไลน์
ค้นหาหนัง

Mamma Mia! Here We Go Again มามา มียา! 2 (2018) [ บรรยายไทย ]

Mamma Mia! Here We Go Again มามา มียา! 2 (2018)
Youtube Video

หมวดหมู่ : หนังตลก , ภาพยนตร์เพลง , หนังโรแมนติก

เรื่องย่อ : Mamma Mia! Here We Go Again มามา มียา! 2 (2018) [ บรรยายไทย ]

ชื่อภาพยนตร์ :  Mamma Mia! Here We Go Again มามา มียา! 2
แนว/ประเภท : Comedy,  Musical,  Romance
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Ol Parker
บทภาพยนตร์ : Ol Parker,  Richard Curtis
นักแสดง : Lily James,  Amanda Seyfried,  Meryl Streep
วันที่ออกฉาย : 20 July 2018

 

 

 

 Mamma Mia! Here We Go Again หนังเพลงภาคต่อทำเงินจาก Mamma Mia โดยหนังจะพาเราย้อนกลับไปสัมผัสกับความสัมพันธ์ของพวกเขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลิลลี เจมส์ จะรับบท ดอนน่าในวัยสาว ซึ่งในต้นฉบับนั้นเป็นบทของ เมอร์รีล สตรีป 

          10 ปี หลังจากหนังมิวสิคัล Mamma Mia! กวาดรายได้ทั่วโลกไปกว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ คุณได้รับเชิญให้กลับไปสัมผัสเรื่องราวมิวสิคัล ณ เกาะคาโลไคริ ณ ประเทศกรีก ในโฉมใหม่ของ Mamma Mia! Here We Go Again ที่สร้างจากบทเพลงของ ABBA พร้อมด้วยนักแสดงหลักชุดเก่าที่กลับมาพร้อมกับหน้าใหม่ที่เข้ามาเสริมทัพ คราวนี้จะพาคุณย้อนกลับไปพบกับดอนน่าในวัยสาว

 

Mamma Mia! Here We Go Again มามา มียา! 2

IMDB : tt6911608

คะแนน : 6.7

รับชม : 435 ครั้ง

เล่น : 67 ครั้ง



 

บอกตามตรงว่าครั้งแรกที่เห็นตัวอย่างหนัง Mamma Mia ภาคต่อเรื่องนี้ก็มีความคิดด้านลบเต็มไปหมดทั้งเรื่องราวการย้อนกลับไปเล่าวีรกรรมโลดโผนของดอนน่า หรือแม้กระทั่งเพลงแอบบาที่ไม่น่าต่างจากหนังภาคแรกนัก แต่ใครจะรู้ว่าการ “ลองของ” ของผู้สร้างทั้งเปลี่ยนผู้กำกับจากภาคแรก ฟิลิดา ลอยด์ ที่ควบกำกับตั้งแต่เวอร์ชั่นละครบรอดเวย์ยันหนัง มาเป็น โอล พาร์คเกอร์  (Ol Parker) ที่มีเพียงเครดิตกำกับหนังอินดี้อย่าง Now Is Good (2012) ที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหนังมิวสิคัลเลย แต่เหนืออื่นใดเดิมพันแบบหมดหน้าตักจริงๆของผู้สร้างคือการยัดเยียดความกดดันทั้งหมดให้นักแสดงสาวอย่าง ลิลลี เจมส์ ที่เครดิตพอจะเชิดหน้าชูตาได้คือ Baby Driver (2017) ที่เธอได้โชว์เสียงอันไพเราะเพียงไม่กี่ท่อนของเพลง แต่กลับต้องมาสวมบทบาท ดอนน่า ของนักแสดงตัวแม่อย่าง เมอรีล สตรีพ แถมยังต้องร้องเพลงของ แอบบา ไม่ต่ำกว่าครึ่งอัลบั้ม แต่อย่างที่เพลงของ BNK48 ว่าไว้ ‘ความพยายามไม่เคยทำร้ายใคร’ แม้หน้าใหม่แต่กลับทำผลงานได้เหนือชั้นกว่าหนังภาคแรกแบบแทบไม่ทิ้งฝุ่น โดยยังคงจิตวิญญาณของ Mamma Mia ไว้ได้ครบถ้วนอีกต่างหาก

 

สำหรับ โอล พาร์คเกอร์ การที่ไม่เคยทำหนังเพลงไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด เพราะด้วยความเป็นนักเล่าเรื่องชั้นยอด พาร์คเกอร์ ได้ให้ความสำคัญกับบทภาพยนตร์มากกว่าตะบี้ตะบันยัดเพลงของแอบบาเข้าไปเอาใจแฟนๆหนังภาคแรก ซึ่งหนึ่งในทีมเขียนบทที่เสริมทัพให้เรื่องราวแข็งแรงคือ ริชาร์ด เคอร์ติส ผู้กำกับ-เขียนบทหนังรักในดวงใจใครหลายคนอย่าง Love Actually (2003) และ About Time (2013) จนได้เรื่องราวสายใยอันลึกซึ้งระหว่าง แม่-ลูก ในวันที่ทั้งคู่ไม่อาจเห็นหน้าแต่ใจกลับใกล้กันเป็นอย่างยิ่ง

 

โดยความเสี่ยงสำคัญของหนังเรื่องนี้คือการปู เซ็ตติ้ง (setting) เป็นเรื่องราวหลัง ตัวละครดอนน่าของเมอรีล สตรีพในหนังภาคแรกเสียชีวิต แล้วเลือกภารกิจหลักให้ โซเฟีย พลิกฟื้นโรงแรมเก่าของเธอ ซึ่งตรงนี้หากบทไม่แข็งแรงพอ มันจะกลายเป็นหนังเพลงภาคต่อราคาถูกทันที แต่ด้วยความพิถีพิถันในการถักทอเรื่องราว เราเลยได้เห็นภาพสะท้อนของดอนน่าในวัยสาวที่มีทั้งความบ้าบิ่นและอ่อนไหว สดใสแต่เปราะบาง มาใช้อธิบายสภาวะเจอมรสุมชีวิตและมรสุมอากาศที่อาจพังความฝันของ โซเฟีย ในชั่วพริบตาได้อย่างชาญฉลาดเป็นอย่างยิ่ง และที่ยิ่งเซอร์ไพรส์คือหนังยังใช้เพลงของ แอบบา ได้เข้ากับสถานการณ์มากกว่าหนังภาคแรก ควบคู่ไปกับการออกแบบฉากมิวสิคัลที่ต้องบอกว่าเต็มไปด้วยความซับซ้อนในเชิงมิวสิคัลและยังทำงานร่วมกับ มิสอองแซงในทางภาพยนตร์ได้อย่างลงตัว

 

โดยส่วนตัวประทับใจการกำกับซีนมิวสิคัลของหนัง 3  ฉากเป็นพิเศษคือเพลง วอเตอร์ลู (Waterloo) ที่เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดอนน่า และแฮรี่ในวัยหนุ่มสาวที่นอกจากเสียงร้องอันทรงพลังของลิลลี เจมส์ และฮิวจ์ สกินเนอร์ แล้ว การออกแบบท่าเต้นทั้งตัวหลักและอองซอม (Ensemble Performers- นักแสดงประกอบที่ต้องร้องและเต้นเพื่ออธิบายสถานการณ์ของตัวละครหลักในละครเวทีประเภทมิวสิคัล) ยังเต็มไปด้วยพลังงานมหาศาลผนวกการถ่ายภาพของโรเบิร์ต โยแมน (ตากล้องคู่บุญของผู้กำกับ เวส แอนเดอร์สัน) ที่ทำให้ทุกเฟรมเต็มไปด้วยความครึกครื้นทั้งสีสันที่ทีมกำกับศิลป์วางไว้และการจับความเคลื่อนไหวในกรอบภาพได้อย่างงดงาม

ส่วนเพลง I have a dream ก็ถูกนำมาถ่ายทอดด้วยการเล่าเรื่องด้วยเพลงและภาพได้อย่างหมดจด สามารถถ่ายทอดการส่งต่อความฝันด้วยการตัดสลับซีนระหว่าง ดอนน่า วัยสาวที่ค้นพบโรงแรมพังๆแห่งนี้กับการเกิดใหม่อย่างใจฝันของโซเฟียที่ปรับปรุงโรงแรมเบลลาดอนน่าขึ้นใหม่เพื่อแม่ที่จากไปของเธอได้อย่างงดงามจนใครที่บ่อน้ำตาตื้นต้องมีรื้นๆกันบ้างแหละ

และหากใครรู้สึกเซ็งหนังภาคแรกที่ถ่ายทอดฉากมิวสิคัลเพลง แดนซิงควีน (Dancing Queen) เพลงฮิตระดับตำนานของวงแอบบาได้อย่างไม่สมศักดิ์ศรี หนังภาคนี้คือการชดเชยที่สาแก่ใจมาก เพราะมันถูกออกแบบมาเพื่อเฉลิมฉลองความสุขของตัวละครทุกตัวในเรื่อง และถูกจัดวางให้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ แถมยังออกแบบซีนนี้ได้อย่างอลังการด้วยการร้องและเต้นของตัวละครหลักและอองซอม บนเรือสำราญใหญ่ยักษ์หลายลำ ก็ทำให้ภาพออกมาอลังการและน่าประทับใจสมศักดิ์ศรีเพลงในดวงใจตลอดกาลของใครหลายคนเป็นอย่างยิ่ง (ไม่บอกหรอกว่าเราแอบน้ำตาซึมด้วย..ฮือออ)

 

อีกสิ่งที่ถือว่าหนังทำได้ดีแบบเหนือความคาดหมายมากคือการแคสตัวละครใหม่ในวัยสาว นอกจากดอนน่าแล้ว หนังยังได้ อเล็กซา เดวีส์ และ เจสสิกา คีแนน  วีนน์ มาสวมบท โรซี และ ทันย่า ดูโอ้เพื่อนสาวตัวป่วนแห่งวง ดอนน่า แอนด์เดอะ ไดนาโมส์ ที่นอกจากจะถอดความคล้ายคลึงจาก จูลี่ วอลเธอร์ส และ คริสติน บารันสกี แล้วยังสามารถถ่ายทอดคาแรคเตอร์ความวายป่วงและความฮาได้อย่างแนบเนียนเมื่อหนังตัดสลับเหตุการณ์ตัวละครสองวัยที่ออกมาสร้างเสียงฮาได้อย่างเด็ดดวง รวมถึงการปรากฏตัวของตัวละครใหม่อย่าง เฟอร์นันโด ผู้ช่วยผู้จัดการโรงแรมเบลลาดอนน่าที่ได้หนุ่มใหญ่อย่าง แอนดี การ์เซีย ที่ยังคงสเน่ห์แบบแดดดี้ไว้อย่างเข้มข้น  รวมถึง ป้าแฌร์ (Cher) ที่งานนี้นางจัดเต็มมาดนางพญาและที่สำคัญเสียงนางยังดีเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือกลับมาทวงบัลลังก์ “ตัวแม่” แต่ในบรรดานักแสดงทั้งหมดคนที่เราต้องถือว่าเปล่งประกายได้อย่างงดงามที่สุดคงหนีไม่พ้น ลิลลี เจมส์ นั่นเอง

 

ไม่ว่าเราจะจดจำ ลิลลี เจมส์ ในฐานะอะไร จะเป็นนางซินชุดฟ้าใน  Cinderella (2015) ที่ถูกค่อนขอดจากแฟนฉบับอนิเมชั่นหรือล้มลุกคลุกคลานเล่นหนังเกรดบีบ้าง หนังอินดี้ไม่ดังบ้างจนกระทั่งมาลืมตาอ้าปากได้จากซีรีส์ดงผู้ดีอย่าง Downton Abbey (2012-2015) หรือล่าสุดที่เธอได้โอกาสโชว์เสน่ห์ทั้งการแสดงและเสียงร้องนิดๆใน Baby Driver (2017) แต่ในนาทีนี้ Mamma Mia Here We Go Again! คือสปอตไลต์สำคัญที่ส่องประกายให้เราเนื้อแท้ทั้งความสามารถทางการแสดงที่ล้ำลึกในระดับที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน การต้องถ่ายทอดทั้งความบ้าบิ่นและอ่อนไหวของดอนน่าฉบับวัยรุ่นที่พร้อมท่องโลกกว้างเพื่อหาตัวตน หรือการค้นพบความเป็นแม่ในบทสรุปของหนังที่ช่วยเติมเต็มภาพหญิงผู้ห้าวหาญที่เปลี่ยนโลกของผู้ชาย 3 คนไปตลอดกาลได้อย่างไร้ข้อกังขา ยังมิพักกับโจทย์ยากที่สุดนั่นคือ เธอต้องใช้เพลงฮิตของ แอบบา ในการถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครโดยแม้เพลงที่เลือกมาบางส่วนจะเป็นการซ้ำรอยกับภาคแรก แต่ด้วยเสียงร้อง ด้วยการทุ่มเทฝึกซ้อมจนเธอสามารถออกสเต็ปได้อย่างแข็งแรง จนตัวละครดอนน่าวัยสาวของเธอโดดเด่นและน่าประทับใจจนทุกเพลงที่เธอร้องสามารถกลืนเป็นเนื้อเดียวกับแอ็คติ้งที่ยอดเยี่ยมและนำพาให้เรื่องราวสัมผัสใจคนดูเป็นอย่างยิ่ง

เอาล่ะเขียนยืดยาวก็มีแต่คำชม เอาเป็นว่า Mamma Mia Here We Go Again! คือหนังเพลงที่เหนือกว่าภาคแรกอย่างน่าประหลาดใจด้วยเรื่องราวที่ลึกซึ้ง การออกแบบซีนมิวสิคัลที่ยอดเยี่ยม และการแสดงที่น่าประทับใจทั้งของ ลิลลี เจมส์ และนักแสดงทั้งเก่าและใหม่ก็น่าจะทำให้คอหนังมิวสิคัลหรือใครที่อยากหาหนังที่ดูแล้วอดขยับตัวตามไม่ได้ควรตีตั๋วชมเป็นอย่างยิ่ง