หมวดหมู่ : หนังแอคชั่น , หนังผจญภัย , หนังไทย , หนังแฟนตาซี
เรื่องย่อ : The Tsunami Warrior ปืนใหญ่จอมสลัด (2008)
ชื่อภาพยนตร์ : The Tsunami Warrior ปืนใหญ่จอมสลัด
แนว/ประเภท : Action, Adventure, Fantasy
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Nonzee Nimibutr
บทภาพยนตร์ : Vin Leawwarin
นักแสดง : Jarunee Suksawas, Jacqueline Apithananon, Anna Reese
วันที่ออกฉาย : 12 August 2008
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ 400 ปีก่อน องค์หญิงฮีเจา (จารุณี สุขสวัสดิ์) ธิดาคนโตขึ้นเป็นรายาสตรีองค์แรกแห่งลังกาสุกะ ภายหลังจากที่รายาบาฮาดูร์ ชาห์ ถูกลอบปลงพระชนม์ ซึ่งลังกาสุกะเป็นรัฐอิสระที่อยู่รายล้อมกลุ่มกบฏและโจรสลัดต่าง ๆ จนยานิส บรี (Andre Machielsen) ปราชญ์แห่งอาวุธชาวดัตช์ เดินทางมาพร้อมกับ ลิ่มเคี่ยม (จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม) ลูกศิษย์ นักประดิษฐ์ชาวจีน เพื่อนำมหาปืนใหญ่ ถวายรายาฮีเจาใช้ป้องกันบ้านเมือง แต่ก็กลับถูกกลุ่มโจรสลัดนำโดย เจ้าชายราไว (เอก โอรี) และ อีกาดำ (วินัย ไกรบุตร) จอมสลัดผู้มีวิชาดูหลำ ซุ่มโจมตีจนเรือฮอลันดาแตก ยานิส บรีถึงแก่ความตาย ส่วนมหาปืนใหญ่จมลงสู่ก้นทะเล แต่ศิษย์ของเขาลิ่มเคี่ยม
IMDB : tt1262945
คะแนน : 5.7
รับชม : 23417 ครั้ง
เล่น : 12009 ครั้ง
เอ้า มาว่ากันที่หนังดีกว่าครับ ด้วยความที่หวังไว้มาก ว่าจะเป็นหนังที่ทุ่มทุนสร้างมหาศาลมโหฬารที่สุดในปีนี้ ด้วยเนื้อเรื่องที่แหวกแนวกว่าหนังไทยใดๆ ที่ที่ทำกันมา มีผู้กำกับฯ ที่ยิ่งใหญ่ทำเงินร้อยล้านมาแล้ว และอยู่ในวงการมา 10 ปี มีผู้เขียนบทเป็นมือซีไรท์ 2 สมัย มีดารานักแสดงชั้นนำของเมืองไทยหลายหน้ามาร่วมงาน ไม่มีหนังไทยเรื่องใดยิ่งใหญ่เท่านี้แหละในปีีนี้
แล้วผมจะตัดใจไม่ดูได้ยังไง…
แต่เมื่อถึงเวลาของการเสพเข้าจริงๆ ก็เริ่มพบตั้งแต่ต้นเลยว่า หนังเรื่องนี้มีองค์ประกอบที่ดีแต่ไม่เข้ากันหลายอย่าง จนทำให้บทความบทนี้ต้องออกมาในรูปนี้
เริ่มต้นเล่าเรื่อง 2 ฝั่งสลับกันไป ฝั่งกำเนิดที่มาที่ไปของพระเอก “ปารี” (อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม) เด็กกำพร้าที่ถูกพบกลางทะเล และเติบโตอยู่กับลุงผู้หนึ่ง กับฝั่งกรุงลังกาสุกะที่นำโดย “ราชินีฮีเจา” (จารุณี สุขสวัสดิ์) ผู้มีองค์หญิงขนิษฐา 2 นาง กับรัฐเดี่ยวที่มีศัตรูรอบด้าน และหวังพึ่งในพันธมิตรเดียวอย่างปาหัง ซึ่งต้องแลกมาด้วยการสมรสที่ไม่ิยินยอมพร้อมใจของ “อูงู” ขนิษฐาองค์เล็ก
แค่เริ่มต้นก็เล่าอย่างตะกุกตะกักเสียแล้ว การตัดต่อที่ใส่ฉากเล็กฉากน้อยลงไป เพื่อสื่อเรื่องราวที่จำเป็น แต่กลับทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกว่า มันเป็นเนื้อหนังเดียวกัน ไม่มีอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องราว ผมว่า การตัดต่อเป็นปัญหาสำหรับหนังเรื่องนี้ เลือกที่จะให้ภาพเหตุการณ์มันบอกเล่าเรื่องราวเอง แทนที่จะให้ใครสักคนมาเ่ล่าให้ฟัง
ตัวละครในเรื่องนั้นค่อนข้างมากในจำนวน เป็นปัญหาเสมอสำหรับภาพยนตร์แนวนี้ ที่ผู้ชมจะจดจำชื่อให้เชื่อมโยงกับหน้าตาได้ก็ต้องพบเห็นตัวละครตัวนั้นมากกว่า 2 ฉากขึ้นไป ยิ่งมาเจอการตัดต่อแบบฉากเล็กฉากน้อย บางคนคงสับสนว่าใครเป็นใครในบางตัว
สิ่งที่พบในหนังก็คือ อลังการงานสร้างด้านคอมพิวเตอร์กราิฟิก ที่ดูเนียนกว่าภาพยนตร์ไทยเรื่องอื่นๆ แสดงว่า ให้ความสำคัญอยู่พอสมควร เพราะเป็นกำลังหลักที่ทำให้หนังออกมาแฟนตาซีเช่นนี้ได้ อีกส่วนหนึ่งที่ไม่ชมคงไม่ได้ เพราะเห็นเด่นชัดมาก นั่นคือ องค์ประกอบด้าการแต่งกาย องค์หญิงและราชินีแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามสมพระเกียรติ อีกทั้งยังมีชนหลายเผ่าปะปนอยู่ในเรื่องเดียวกัน มือออกแบบเครื่องแต่งกายจำต้องทำงานหนัก เพื่อสร้างความแตกต่างของคนต่างลำดับชั้น และต่างชนเผ่า อันจะส่งผลต่อการจดจำและทำความเข้าใจเรื่องของผู้ชมยิ่ง เพลงประกอบก็ทำออกมาได้อลังการยิ่ง การได้ชมหนังเรื่องนี้ในโรง ย่อมได้อรรถรสความยิ่งใหญ่ของ “ปืนใหญ่จอมสลัด” ได้อย่างแม่นมั่นหากดนตรีนั้นรับอารมณ์กับภาพได้อย่างลงตัว
เสียอยู่ที่ว่า ภาพนั้นไม่ได้รับกับดนตรีอย่างที่ควรจะเป็นนี่สิ
ผมไม่ได้บอกว่า ตนเป็นผู้ชำนาญการด้านการตัดต่อ จึงริมาติติงทีมงานเช่นนั้นหรอกนะครับ แต่คงต้องบอกว่า ความรู้สึกขณะชมก็คือ บางจุดใส่ดนตรี 2 เพลงคนละอารมณ์มาพร้อมกัน ผมไม่แน่ใจว่า ผมจะอยู่ในอารมณ์ไหนในตอนนั้น การเล่าเรื่องของหนังแฟนตาซี จะตัดฉับแบบหนังสยองขวัญคงไม่ได้ สองครั้งสองคราที่ตัดแฟลชแบ็คอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ดูแปลกแยกเหมือนหนังที่มีรอยปริ
หรือบางครั้ง ดนตรีมาอย่างอึกทึกครึกโครม แต่ภาพยังไม่ยิ่งใหญ่รับกับเสียงดนตรีนัก จวบจนผ่านไป 10 วินาที จึงค่อยพบฉากที่รับกันได้ทีหลัง มันอาจแสดงให้เห็นว่า ของดีที่ทำมาแต่ละด้าน จากผู้มากฝีมือแต่ละสาขา เมื่อมาอยู่รวมกัน กลับประกอบกันได้ไม่สนิท
ก่อนที่จะเขียนบทความนี้ ผมเองก็ไม่มั่นใจนักว่า จะเขียนออกมาเช่นไร แต่หลังจากได้ไปสืบเสาะหาข้อความที่สะท้อนออกมาหลังจากไปดู ก็พบว่า หลายคนรู้สึกไม่ต่างอะไรจากผมมากนัก จึงเริ่มมั่นใจที่จะเขียนมันมากขึ้น
หนังเรื่องนี้ อาจได้รับอิทธิพลจากหลากหลายที่มา หลายคนดูแล้ว อาจจะนึกไปถึง Star Wars อาจสงสัยว่า ปารีที่ฝึกวิชา “ดูหลำ” กับอาจารย์กระเบนขาว (สรพงษ์ ชาตรี) นั้น อาจกำลังฝึกเป็นพาดาวันของเจไดกระเบนขาวอยู่ก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม ผมยังเชื่อว่า หลายคนที่ไปดูหนังเรื่องนี้มาแล้ว ยังคงมีภาพความประทับใจในบางฉากอยู่เป็นแน่ ซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกเล็กปลีกน้อยที่แทรกอยู่ในหนัง
อันแสดงให้เห็นว่า ผู้สร้าง สร้างอย่างตั้งใจ แต่ไม่ได้ทุกจุดนั่นเอง
ที่ติติง มิใช่เพราะ “นี่เป็นหนังไทย” แต่เพราะ “รักในการดูหนัง” เท่านั้นนะครับ